รอบรู้เรื่อง''มะละกอ''
พันธุ์มะละกอที่ปลูกเป็นการค้า : ได้แก่
1. มะละกอพันธุ์พื้นเมือง เป็นมะละกอที่ปลูกกันมานานโดยมีการปล่อยให้มีการผสมข้ามกันเองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะมีผลขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื้อบาง ช่องว่างในผลกว้าง ผลสุกเนื้อสีเหลืองค่อนข้างเละ จึงนิยมบริโภคดิบมากกว่า การออกดอกติดผลช้าเป็นมะละกอที่ปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา จึงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี จึงพบในท้องถิ่นและภาคต่าง ๆ ที่ไม่ได้มุ่งหวังทำเพื่อการค้า
2. มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากและเป็นที่ต้องการของตลาด ลักษณะเป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียว ก้านใบสั้น ในหนากว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ ขนาดผลมีส่วนหัวและท้ายของผลเกือบเท่ากัน เปลือกหนาสีเขียวเข้มผิวขรุขระเล็กน้อย ขนาดผลประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัม ผลสุกมีรสหวาน เมล็ดน้อยช่องว่างภายในผลแคบ เนื้อแข็งสีแดง ขนาดเหมาะที่ทำส้มตำจะเก็บในขณะที่มีน้ำหนัก 500-750 กรัม
3. มะละกอพันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์ที่นำมาปลูกนานแล้ว ต้นเล็ก ๆ จะมีจุดประสีม่วง ก้านใบมีสีม่วง ลักษณะผล ส่วนปลายผลเล็กเรียว ส่วนหัวผลซึ่งใกล้ขั้วมีลักษณะเป็นทรงกระบอกใหญ่ ผิวสีเขียว ผลค่อนข้างเรียบ ช่องว่างระหว่างผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน ช่องว่างภายในผลกว้าง สุกแล้วเนื้อสีแดงหรือส้มเหมาะสำหรับบริโภคสุก
4. มะละกอสายพันธุ์น้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่าแขกดำ ใบกว้างกว่าแขกดำแต่ใบบางกว่า จำนวนแฉกของใบมีน้อยกว่าแขกดำและโกโก้ ผลค่อนข้างโต ผลด้านขั้วจะเล็กแล้วขยายโตขึ้นบริเวณใกล้ปลายผล เปลือกผลสีเขียว เนื้อเมื่อสุกมีสีส้มปนเหลือง หรือสีส้ม เนื้อเละรสหวาน
5. มะละกอพันธุปากช่อง1 เป็นพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ผสมพันธุ์นี้ขึ้นจากการนำเอามะละกอสายพันธุ์ซันไรส์ โซโล จากประเทศไต้หวันมาทำการปลูกและผสมพันธุ์ตัวเองอยู่ 5 ชั่วอายุ พันธุ์ปากช่อง1 มีลักษณะที่ดีเด่นคือเป็นมะละกอต้นค่อนข้างเตี้ยมาก ให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน หลังจากปลูกผลในระยะแรกอยู่เหนือจากระดับพื้นดินประมาณ 70-80 เซนติเมตร ติดผลค่อนข้างดกคือ ให้ผลผลิตประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ผลลักษณะกลมขนาดเล็กสามารถรับประทานคนเดียวหมดผล หรือถ้าผลขนาดกลางก็อาจรับประทานได้ 2 คน มีน้ำหนักประมาณ 350 กรัมต่อผล ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
เนื้อแข็งกรอบสีส้มหนาประมาณ 1.8 เซนติเมตร รสชาติหอมหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลอยู่ค่อนข้างสูง ผลสุกจนมีผิวสีเหลืองทั้งผล สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้นาน โดยที่มีรสหวานเหมือนเดิมและเนื้อก็ไม่เละด้วย นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังสามารถที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้เอง ทั้งยังสามารถเพิ่มขนาดของผลให้ใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักถึง 600 กรัมต่อผล ถ้าหากตลาดต้องการโดยการเด็ดช่อดอกด้านข้างออกเหลือดอกกลางไว้ก็จะได้มะละกอ ผลใหญ่ตามต้องการและ คุณสมบัติที่เด่นกว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างมีความต้นทานต่อโรคใบด่าง ซึ่งถือเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะละกอ
การแสดงออกของเพศมะละกอ :
ต้น มะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศโดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอออกดอก แล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้
***เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนเพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม
1.มะละกอ ต้นตัวผู้ มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด
ถ้า อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง
2. มะละกอต้นตัวเมีย จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลาง 5-20 เซนติเมตร ดูจากภายนอกดอกยังตูมอยู่จะมีลักษณะดอกป้อม กลีบดอกทั้ง 5 กลีบ จะแยกจากกัน ภายในมีรังไข่ อ้วนสั้น สีขาว มีส่วนปลายรังไข่เป็นแฉก 5 แฉก สีเหลืองอมเขียว แต่ละแฉกก็มีปลายเป็นฝอย ผลจากดอกตัวเมียจะมีรูปร่างกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ หรือรูปไข่
3. มะละกอต้นสมบูรณ์เพศ(ต้นกะเทย) ช่อดอกแตกแขนงสั้น อาจจะประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในช่อดอกเดียวกันก็ได้ แต่ดอกสมบูรณ์เพศก่อนบานจะมีลักษณะเรียวยาว กลีบดอกส่วนที่เป็นหลอดจะหุ้มส่วนของรังไข่ ส่วนกลีบดอกที่แยกกันจะเปิดออกเมื่อดอกบาน ถ้าเด็ดกลีบดอกออกจะเห็นอับเกสรตัวผู้ 10 อัน เรียงรอบใต้ส่วนของยอดเกสรตัวเมีย เมื่อละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจาย ขณะดอกบานก็จะผสมตัวเองได้หรือแมลงพาเกสรตัวผู้ไปผสมกับดอกที่บานดอกอื่น หรือดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ทำให้ติดเป็นผล ผลจากมะละกอต้นสมบูรณ์เพศจะเป็นรูปทรงกระบอกยาว ถ้าดอกสมบูรณ์เพศนั้นมีรังไข่ทรงกระบอกและอับเกสรตัวผู้เกิดบริเวณ โคนกลีบดอก เรียกดอกประเภทนี้ว่าอีลองกาต้า (Elongata)
ดอกสมบูรณ์ เพศที่มีรังไข่เป็นพลูและมีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่ที่โคนรังไข่ เป็นดอกแบบแพนเดรีย (Pentandria) ทำให้ได้ผลเป็นพลูแบบผลทุเรียน ตลาดไม่ต้องการ ควรเด็ดทิ้งขณะผลเล็กๆ
ดอกสมบูรณ์เพศแบบอินเทอร์มี เดียท (Intermediate)คือ ดอกสมบูรณ์เพศที่มีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่บริเวณรังไข่ด้านใดด้านหนึ่ง ตรงกลางของรังไข่เมื่อผสมติดแล้วทำให้ผลมีแผลเป็น เบี้ยวด้านหนึ่ง ตลาดไม่ต้องการถ้าพบผลแบบนี้ขณะอ่อน ๆ อยู่ให้เด็ดทิ้ง
ยีนที่ควบคุมและกำหนดเพศมะละกอมีดังนี้ :
Mm คือมะละกอเพศเมีย
M1m คือมะละกอเพศผู้
M2m คือมะละกอสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย)
M1M1, M2M2, M1M2 เกิดลีทอลยีน(Letthlgene) ไม่มีเมล็ด
----------------------------------------------------------------------
แม่พันธุ์ x พ่อพันธุ์ อัตราส่วนของลูก
เพศเมีย :สมบูรณ์ : เพศผู้
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นเพศผู้ (M1m) 1 : - : 1
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นสมบูรณ์เพศ (M2M) 1 : 1 : -
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x เพศผู้ (M1m) 1 : 1 : 1
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x สมบูรณ์เพศ (M2m) 1 : 2 : -
การคัดเลือกมะละกอไปทำพันธุ์เพื่อการค้า :
การ เลือกมะละกอไปทำพันธุ์ในการค้า เราต้องการมะละกอสมบูรณ์เพศมาก จึงต้องทำการผสมตัวเองหรือผสมข้ามต้นสมบูรณ์เพศเพื่อให้ได้ผลยาวมากในที่นี้ จะได้ผลยาว 2 ส่วน ประมาณ 66% ผลกลมต้นตัวเมีย 33% การรักษาสายพันธุ์หรือทำเมล็ดพันธุ์จึงควรเลือกต้นมะละกอสมบูรณ์เพศที่มี ความแข็งแรง ติดผลดกในแปลงของท่านเอง แล้วใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้าขาวบางคุลมดอกสมบูรณ์เพศของต้นสมบูรณ์เพศที่จะ บานในวันรุ่งขึ้นไว้ แขวนป้ายชื่อพันธุ์พร้อมวันที่ การคลุมถุงจะคลุมไว้ประมาณ 7 วัน แล้วถอดเอาถุงออก ถ้าเป็นมะละกอพันธุ์ปากช่อง หนึ่งผลจะได้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 150-350 เมล็ด มะละกอพันธุ์แขกดำจะมีเมล็ด 438-1,044 เมล็ดต่อผล ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องผสมไว้หลาย ๆ ผลเพื่อให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกในพื้นที่
การผสมตัวเองของมะละกอ แม้ว่าทำเพียง 4 ชั่วอายุ ก็จะทำเป็นสายพันธุ์คัดได้ ถ้าปลูกในหมู่เดียวกัน ห่างจากพันธุ์อื่นประมาณ 1 กิโลเมตร ก็เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ เมล็ดที่ได้เมื่อนำไปเพาะจะได้ต้นสมบูรณ์เพศ 2 ส่วน ต้นตัวเมีย 1 ส่วน การเก็บเมล็ดทำพันธุ์ต้องเลือกเก็บเมล็ดจากผลที่มีผิวสีเหลืองหรือส้มที่ผล ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ระวังอย่าให้ผลที่เก็บมาได้รับความกระทบกระเทือน หรือช้ำเสียหาย
1. มะละกอพันธุ์พื้นเมือง เป็นมะละกอที่ปลูกกันมานานโดยมีการปล่อยให้มีการผสมข้ามกันเองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะมีผลขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื้อบาง ช่องว่างในผลกว้าง ผลสุกเนื้อสีเหลืองค่อนข้างเละ จึงนิยมบริโภคดิบมากกว่า การออกดอกติดผลช้าเป็นมะละกอที่ปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา จึงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี จึงพบในท้องถิ่นและภาคต่าง ๆ ที่ไม่ได้มุ่งหวังทำเพื่อการค้า
2. มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากและเป็นที่ต้องการของตลาด ลักษณะเป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียว ก้านใบสั้น ในหนากว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ ขนาดผลมีส่วนหัวและท้ายของผลเกือบเท่ากัน เปลือกหนาสีเขียวเข้มผิวขรุขระเล็กน้อย ขนาดผลประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัม ผลสุกมีรสหวาน เมล็ดน้อยช่องว่างภายในผลแคบ เนื้อแข็งสีแดง ขนาดเหมาะที่ทำส้มตำจะเก็บในขณะที่มีน้ำหนัก 500-750 กรัม
3. มะละกอพันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์ที่นำมาปลูกนานแล้ว ต้นเล็ก ๆ จะมีจุดประสีม่วง ก้านใบมีสีม่วง ลักษณะผล ส่วนปลายผลเล็กเรียว ส่วนหัวผลซึ่งใกล้ขั้วมีลักษณะเป็นทรงกระบอกใหญ่ ผิวสีเขียว ผลค่อนข้างเรียบ ช่องว่างระหว่างผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน ช่องว่างภายในผลกว้าง สุกแล้วเนื้อสีแดงหรือส้มเหมาะสำหรับบริโภคสุก
4. มะละกอสายพันธุ์น้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่าแขกดำ ใบกว้างกว่าแขกดำแต่ใบบางกว่า จำนวนแฉกของใบมีน้อยกว่าแขกดำและโกโก้ ผลค่อนข้างโต ผลด้านขั้วจะเล็กแล้วขยายโตขึ้นบริเวณใกล้ปลายผล เปลือกผลสีเขียว เนื้อเมื่อสุกมีสีส้มปนเหลือง หรือสีส้ม เนื้อเละรสหวาน
5. มะละกอพันธุปากช่อง1 เป็นพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ผสมพันธุ์นี้ขึ้นจากการนำเอามะละกอสายพันธุ์ซันไรส์ โซโล จากประเทศไต้หวันมาทำการปลูกและผสมพันธุ์ตัวเองอยู่ 5 ชั่วอายุ พันธุ์ปากช่อง1 มีลักษณะที่ดีเด่นคือเป็นมะละกอต้นค่อนข้างเตี้ยมาก ให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน หลังจากปลูกผลในระยะแรกอยู่เหนือจากระดับพื้นดินประมาณ 70-80 เซนติเมตร ติดผลค่อนข้างดกคือ ให้ผลผลิตประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ผลลักษณะกลมขนาดเล็กสามารถรับประทานคนเดียวหมดผล หรือถ้าผลขนาดกลางก็อาจรับประทานได้ 2 คน มีน้ำหนักประมาณ 350 กรัมต่อผล ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
เนื้อแข็งกรอบสีส้มหนาประมาณ 1.8 เซนติเมตร รสชาติหอมหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลอยู่ค่อนข้างสูง ผลสุกจนมีผิวสีเหลืองทั้งผล สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้นาน โดยที่มีรสหวานเหมือนเดิมและเนื้อก็ไม่เละด้วย นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังสามารถที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้เอง ทั้งยังสามารถเพิ่มขนาดของผลให้ใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักถึง 600 กรัมต่อผล ถ้าหากตลาดต้องการโดยการเด็ดช่อดอกด้านข้างออกเหลือดอกกลางไว้ก็จะได้มะละกอ ผลใหญ่ตามต้องการและ คุณสมบัติที่เด่นกว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างมีความต้นทานต่อโรคใบด่าง ซึ่งถือเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะละกอ
การแสดงออกของเพศมะละกอ :
ต้น มะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศโดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอออกดอก แล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้
***เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนเพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม
1.มะละกอ ต้นตัวผู้ มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด
ถ้า อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง
2. มะละกอต้นตัวเมีย จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลาง 5-20 เซนติเมตร ดูจากภายนอกดอกยังตูมอยู่จะมีลักษณะดอกป้อม กลีบดอกทั้ง 5 กลีบ จะแยกจากกัน ภายในมีรังไข่ อ้วนสั้น สีขาว มีส่วนปลายรังไข่เป็นแฉก 5 แฉก สีเหลืองอมเขียว แต่ละแฉกก็มีปลายเป็นฝอย ผลจากดอกตัวเมียจะมีรูปร่างกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ หรือรูปไข่
3. มะละกอต้นสมบูรณ์เพศ(ต้นกะเทย) ช่อดอกแตกแขนงสั้น อาจจะประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในช่อดอกเดียวกันก็ได้ แต่ดอกสมบูรณ์เพศก่อนบานจะมีลักษณะเรียวยาว กลีบดอกส่วนที่เป็นหลอดจะหุ้มส่วนของรังไข่ ส่วนกลีบดอกที่แยกกันจะเปิดออกเมื่อดอกบาน ถ้าเด็ดกลีบดอกออกจะเห็นอับเกสรตัวผู้ 10 อัน เรียงรอบใต้ส่วนของยอดเกสรตัวเมีย เมื่อละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจาย ขณะดอกบานก็จะผสมตัวเองได้หรือแมลงพาเกสรตัวผู้ไปผสมกับดอกที่บานดอกอื่น หรือดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ทำให้ติดเป็นผล ผลจากมะละกอต้นสมบูรณ์เพศจะเป็นรูปทรงกระบอกยาว ถ้าดอกสมบูรณ์เพศนั้นมีรังไข่ทรงกระบอกและอับเกสรตัวผู้เกิดบริเวณ โคนกลีบดอก เรียกดอกประเภทนี้ว่าอีลองกาต้า (Elongata)
ดอกสมบูรณ์ เพศที่มีรังไข่เป็นพลูและมีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่ที่โคนรังไข่ เป็นดอกแบบแพนเดรีย (Pentandria) ทำให้ได้ผลเป็นพลูแบบผลทุเรียน ตลาดไม่ต้องการ ควรเด็ดทิ้งขณะผลเล็กๆ
ดอกสมบูรณ์เพศแบบอินเทอร์มี เดียท (Intermediate)คือ ดอกสมบูรณ์เพศที่มีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่บริเวณรังไข่ด้านใดด้านหนึ่ง ตรงกลางของรังไข่เมื่อผสมติดแล้วทำให้ผลมีแผลเป็น เบี้ยวด้านหนึ่ง ตลาดไม่ต้องการถ้าพบผลแบบนี้ขณะอ่อน ๆ อยู่ให้เด็ดทิ้ง
ยีนที่ควบคุมและกำหนดเพศมะละกอมีดังนี้ :
Mm คือมะละกอเพศเมีย
M1m คือมะละกอเพศผู้
M2m คือมะละกอสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย)
M1M1, M2M2, M1M2 เกิดลีทอลยีน(Letthlgene) ไม่มีเมล็ด
----------------------------------------------------------------------
แม่พันธุ์ x พ่อพันธุ์ อัตราส่วนของลูก
เพศเมีย :สมบูรณ์ : เพศผู้
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นเพศผู้ (M1m) 1 : - : 1
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นสมบูรณ์เพศ (M2M) 1 : 1 : -
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x เพศผู้ (M1m) 1 : 1 : 1
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x สมบูรณ์เพศ (M2m) 1 : 2 : -
การคัดเลือกมะละกอไปทำพันธุ์เพื่อการค้า :
การ เลือกมะละกอไปทำพันธุ์ในการค้า เราต้องการมะละกอสมบูรณ์เพศมาก จึงต้องทำการผสมตัวเองหรือผสมข้ามต้นสมบูรณ์เพศเพื่อให้ได้ผลยาวมากในที่นี้ จะได้ผลยาว 2 ส่วน ประมาณ 66% ผลกลมต้นตัวเมีย 33% การรักษาสายพันธุ์หรือทำเมล็ดพันธุ์จึงควรเลือกต้นมะละกอสมบูรณ์เพศที่มี ความแข็งแรง ติดผลดกในแปลงของท่านเอง แล้วใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้าขาวบางคุลมดอกสมบูรณ์เพศของต้นสมบูรณ์เพศที่จะ บานในวันรุ่งขึ้นไว้ แขวนป้ายชื่อพันธุ์พร้อมวันที่ การคลุมถุงจะคลุมไว้ประมาณ 7 วัน แล้วถอดเอาถุงออก ถ้าเป็นมะละกอพันธุ์ปากช่อง หนึ่งผลจะได้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 150-350 เมล็ด มะละกอพันธุ์แขกดำจะมีเมล็ด 438-1,044 เมล็ดต่อผล ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องผสมไว้หลาย ๆ ผลเพื่อให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกในพื้นที่
การผสมตัวเองของมะละกอ แม้ว่าทำเพียง 4 ชั่วอายุ ก็จะทำเป็นสายพันธุ์คัดได้ ถ้าปลูกในหมู่เดียวกัน ห่างจากพันธุ์อื่นประมาณ 1 กิโลเมตร ก็เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ เมล็ดที่ได้เมื่อนำไปเพาะจะได้ต้นสมบูรณ์เพศ 2 ส่วน ต้นตัวเมีย 1 ส่วน การเก็บเมล็ดทำพันธุ์ต้องเลือกเก็บเมล็ดจากผลที่มีผิวสีเหลืองหรือส้มที่ผล ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ระวังอย่าให้ผลที่เก็บมาได้รับความกระทบกระเทือน หรือช้ำเสียหาย
0 comments:
Post a Comment