Tuesday, November 20, 2012

ประโยชน์ของผลไม้

“ผลไม้” ถือเป็นอาหารที่วิเศษอย่างหนึ่ง และเราควรจะกินผัก-ผลไม้ รวมกันในปริมาณวันละครึ่งกิโลกรัม ด้วยเหตุผลที่ว่า “ผัก-ผลไม้” เป็นแหล่งพลังงานที่ช่วย ทำให้สุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บนั่นเอง
            ผลไม้เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายอย่าง ได้แก่ แป้งและน้ำตาลที่ให้พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ที่ช่วยในกระบวนการปฏิกิริยา เคมีของร่างกาย (Metabolism) ใยอาหารช่วย การขับถ่าย ช่วยลดคอเลสเตอรอล และมีสารป้องกันมะเร็ง

f
มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุกขนาดกลาง ความสูงระหว่าง 5-20 ฟุต ลำต้นอวบน้ำ มะละกอเป็นพืชปลูกง่ายโตเร็ว ให้ผลเร็ว ใฟ้ผลตลอดปี โดยทั่วไปมะละกอเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน และปลูกได้ดี่ในดินทั่วไป แต่ต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขังแฉะ และมีอินทรีย์วัตถุมากพอสมควร
 ประโยชน์ต่อสุขภาพ
     เป็นไม้ผลที่คนทั่วไปนิยมรับประทาน ผลดิบนำมาปรุงอาหาร และผลสุกรับประทานสด น้ำมีรสหวานหอม มีวิตามินเอ และแคลเซี่ยมสูง มะละกอผลดิบมียาง มีสารเพคติน แคลเซี่ยม วิตามินซี และอื่นๆ ผลสุก มีวิตามินเอสูง วิตามินซี สารเพคติน เหล็ก แคลเซี่ยม และมีสาร Cerotenoid เป็นสารที่ทำให้เนื้อมะละกอสุกมีสีส้ม ต้นมะละกอ ใช้เป็นยาขับประจำเดือน ลดไข้ ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลา หูด ฆ่าพยาธิ

271638a9f14cae6693620826360e10fc_1
มังคุดเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ชอบอากาศชื้น ที่สำคัญควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง มังคุดเป็นผลไม้ที่มีระบบรากหาอาหาร ค่อนข้างลึกประมาณ 90-120 ซม. จากผิวดิน ดังนั้น จึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกค่อนข้างนาน โดยต้นมังคุดที่ สมบรูณ์ ใบยอดมีอายุระหว่าง 9-12 สัปดาห์ เมื่อผ่านช่วงแล้งติดต่อกัน 21-30 วัน และมีการกระตุ้นน้ำถูกวิธี มังคุดจะออกดอก
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
     สารสกัดมังคุด มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุอาการท้องเสีย สารที่พบมากที่เปลือกคือ tannin มีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงช่วยแก้อาการท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดหนอง และยังรักษาแผลได้อีกด้วย
การใช้มังคุครักษาอาการท้องเสีย คือ
1. ใช้เปลือกผลตากแห้ง ต้มกับน้ำปูนใส นำน้ำมาดื่ม
2. ใช้ผลตากแห้งฝนกับน้ำดื่ม
3. ใช้เปลือกตากแห้งมาฝนกับน้ำดื่ม ให้เด็กดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชม. และผู้ใหญ่ ครั้งละ 4 ช้อนชา ทุก 4 ชม.


14176578

สับประรดเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันถี่มาก รอบต้นกว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีตารอบผล มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
     รักษาแผลเป็นหนองได้ โดยนำผลสดๆมาคั้นเอาแต่น้ำ ชโลมแผล เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อ และหนองให้หลุด ยังใช้แก้ท้องผูกได้อีกด้วย โดยนำผลสดมาคั้นเอาน้ำ 1 แก้ว อาจผสมกับน้ำสุก 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มตอนท้องว่าง หรืออาจจะใช้เหง้าสดๆ ประมาณ 200 กรัม หรือแห้ง 100 กรัม ต้มน้ำ 2 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้สับประรดยังสามารถแก้ปัสสาวะไม่ออก และช่วยย่อยอาหารได้ดีอีกด้วย

เพศของต้นมะละกอ

เพศของต้นมะละกอ

มะละกอ (Carica papaya L.) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่จัดอยู่ในวงศ์ Caricaceae เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ซึ่งต่อมาได้มีการนำไปขยายพันธุ์ทั่วโลก สามารถบริโภคได้ทั้ง ผลดิบและผลสุก มะละกอแพร่เข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
มะละกอ เป็นพืชที่มีหลายเพศ (polygamous) บางต้นเป็นเพศผู้ มีเฉพาะดอกตัวผู้ซึ่งไม่มีเกสรตัวเมีย บางต้นเป็นเพศเมียมีดอกเฉพาะดอกตัวเมียซึ่งไม่มีเกสรตัวผู้ และบางต้นเป็นกระเทย คือมีดอกที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกกันมากคือพันธุ์ที่มีต้นแบบกระเทย เพราะสามารถผสมตนเอง (self pollination) ภายในดอกหรือภายในต้นเดียวกันได้ สามารถขยายพันธุ์ได้ดีเพราะให้เมล็ดที่มีอัตราการงอกเป็นต้นที่มีดอกกระเทยและต้นที่มีดอกตัวเมียในสัดส่วน 2 : 1 และต้นที่มีดอกกระเทยให้ผลที่มีรูปร่างยาว มีการให้ผลอย่างสม่ำเสมอ
พันธุศาสตร์ของมะละกอ

เพศของมะละกอควบคุมด้วยยีน 3 ชนิด คือ Mh, Mm และ m ยีน Mh และ Mmเป็นยีนเด่น ส่วนยีน m เป็นยีนด้อย ลักษณะพันธุกรรมที่แสดงออกมา เราเรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype) ส่วนลักษณะของยีนที่ควบคุม เราเรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) ต้นมะละกอทั้ง 3 แบบ มีฟีโนไทป์และจีโนไทป์ ดังนี้

ฟีโนไทป์ จีโนไทป์
ต้นตัวผู้
Mm/m
ต้นตัวเมีย
m/m
ต้นกระเทย
Mh/m


สำหรับจีโนไทป์ที่เป็นฮอมอไซกัสยีน คือ Mm/Mm , Mh/Mh และ เฮเทอโรไซกัสยีนซึ่งเป็นยีนเด่นทั้ง คู่ คือ Mm/Mhไซโกตจะตายไปจึงไม่มีต้นอ่อนที่มีชีวิ ตเหลืออยู่


ต้นมะละกอตัวผู้จะไม่ให้ผลเพราะไม่มีรังไข่ซึ่งเป็นส่วนของเกสรตัวเมีย สำหรับพันธุกรรมที่ควบคุมเพศของมะละกอมีผลต่อรูปร่างของผลมาก กล่าวคือต้นตัวเมียจะให้ผลที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมสั้นส่วนต้นกระเทยให้ผลที่มีรูปร่าง กลมยาวซึ่งเป็นที่นิยม พันธุ์มะละกอที่รู้จักกันดี ได้แก่ พันธุ์สายน้ำผึ้ง พันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ
การแสดงออกเกี่ยวกับเพศ (sex expression) นอกจากยีนจะเป็นตัวควบคุมเพศของมะละกอแล้ว สิ่งแวดล้อมมักมีผลต่อการแสดงออกเกี่ยวกับเพศด้วย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจน เป็นต้น ถ้าอุณหภูมิในช่วงเวลากลางวันและช่วงกลางคืนมีความ แตกต่างกันมาก อาจทำให้เกิดดอกตัวเมียในต้นกระเทย และถ้ามีความชื้นสูง อากาศเย็น และมีปุ๋ยไนโตรเจนมากในช่วงที่ตาดอกกำลังเจริญ อาจทำให้เกิดดอกกระเทยที่มีก้านชูอับละอองเรณูเชื่อม ติดกับผนังรังไข่ จึงมักให้ผลที่ไม่ยาวและมักบิดเบี้ยวโค้งงอ
สำหรับดอกกระเทยซึ่งมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย นักวิชาการได้พบว่าลักษณะของดอกมีหลากหลาย เช่น บางลักษณะยอดเกสรตัวเมียอยู่สูงกว่าอับละอองเรณูของเกสรตัวผู้ ลักษณะเช่นนี้ในธรรมชาติจะทำให้เกิดการผสมข้ามต้น (cross pollination) และบางลักษณะ อับละอองเรณูอยู่สูงกว่ายอดเกสรตัวเมียซึ่งจะเอื้อต่อการผสมตัวเอง ส่วนต้นตัวเมียจะต้องผสมข้ามกับต้นอื่น โดยอาศัยกระแสลมหรือแมลงพวกผึ้งหรือผีเสื้อช่วยในการผสมเกสร จึงจะมีเมล็ดสำหรับใช้ปลูกต่อไป
การปรับตัวและการสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพ แวดล้อม จึงจะมีชีวิตอยู่รอด สืบพันธุ์ให้ก ำเนิดลูกหลานดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของตนไว้ได้ และการปรับตัวนี้เป็นไปถึงระดับของยีน จากการศึกษาพันธุกรรมของมะละกอ เราได้ทราบแล้วว่าจีโนไทป์บางอย่างไม่อาจดำรง ชีพอยู่ได้ คือ Mh/Mh , Mm/Mm และ Mm/Mhแต่ต้นมะละกอที่มีจีโนไทป์บางแบบสามารถดำรงอยู่ได้ กล่าวคือ Mh/m , Mm/m และ m/m
การใช้พันธุวิศวกรรมในการปรับปรุงพันธุ์มะละกอ การปรับปรุงพันธุ์มะละกออาจทำได้โดยการผสมข้ามพันธุ์ เพื่อให้มีรสชาติ สีของเนื้อ ความแข็งของเนื้อและรูปร่างตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่มะละกอ ก็เป็นพืชที่มีโรครบกวนมาก เช่น โรคจุดวงแหวนซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสในปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพหรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มาใช้โดยการ ตัดและต่อยีนเพื่อสร้างพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคดังกล่าวซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับมหาวิทยาลัยคอร์เนล การค้นพบดังกล่าว ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา จะต้องมีการจดสิทธิบัตรยีน (gene patent) และและมีสัญญาในการแบ่งผลประโยชน์

ภาพมะละกอแขกนวล...กำลังรอจากคุณปิ่นครับ

พันธุ์มะละกอที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า

ถึง แม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา

ภาพมะละกอแขกนวล...กำลังรอจากคุณปิ่นครับ



1.พันธุ์แขกนวล  นิยมปลูกเพื่อขายผลดิบลักษณะผลยาวผิวผลเรียบสีเขียวอ่อน นวล เนื้อแน่นกรอบเหมาะสำหรับทำส้มตำ ผลสุกเนื้อสีส้มแดง


2.พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ขายได้ทั้งผลดิบและผลสุก ผลสุกมีรสหวานมีเม็ดน้อยเนื้อสีส้มแดง ผลดิบเนื้อแน่นกรอบใช้ทำส้มตำได้ดี

3.พันธุ์แขกดำท่าพระ มีลักษณะดีคือมีความต้านทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ในระดับหนึ่ง ต้นเตีย น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม/ผล เนื้อหนา ผลสุกเนื้อสีเหลืองอมส้ม


4.พันธุ์ฮอลแลนด์ เหมาะสำหรับขายผลสุก ผลรูปทรงกระบอก น้ำหนักผลประมาณ 8 ขีด ถึง 1.5 กิโลกรัม เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาและแน่น ไม่เละ มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย ความหวานสูง

5.พันธุ์ปากช่อง เหมาะสำหรับขายผลสุก เป็นพันธ์ที่สถานีวิจัยปากช่อง ทำการผสมและปรับปรุงพันธุ์จากมะละกอพันธุ์ซันไรส์โซโล ของประเทศใต้หวัน ขนาดผลประมาณ3-5ขีด เนื้อสีส้ม แข็งกรอบ รสหวานมีเปอร์เซนต์น้ำตาลสูง

6.พันธุ์เรดเลดี้ เป็นพันธุ์ที่ติดผลดก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม เหมาะสำหรับขายผลสุก เนื้อสีแดง หวานกรอบ กลิ่นหอม

"ครั่ง" มะละกอไทย เพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะ

"ครั่ง" มะละกอไทย เพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะ
มะละกอครั่ง(1)เหมาะสำหรับการตำส้มตำโดยเฉพาะให้ผลผลิตสูงเจริญเติบโตเร็ว
มะละกอครั่ง(2)ผลดิบจะกรอบรสหวานกว่าพันธุ์อื่น,เก็บผลไว้ได้นาน1สัปดาห์

แต่เดิมคนไทยมักจะคุ้นเคยกับมะละกอดิบพันธุ์แขกนวลหรือมะละกอแขกดำ ที่นำมาตำส้มตำซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตของคนไทย
แต่มะละกอไทยที่มีชื่อว่า พันธุ์ “ครั่ง” เป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคาม (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำส้มตำโดยเฉพาะ
ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน
เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนื้อของมะละกอดิบพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวานกว่ามะละกอดิบสายพันธุ์อื่น
เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยวและคุณภาพไม่ เปลี่ยนแปลงนานถึง 1 สัปดาห์ ทำให้พ่อค้าที่มารับซื้อจะชะลอการจำหน่ายได้

--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอพันธุ์ครั่ง:


จากการคัดเลือกพันธุ์ยังพบว่าเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง ยังมี 3 เพศ ต้นกะเทย ต้นตวเมีย และต้นตัวผู้
ดังนั้น เกษตรกรที่ได้เมล็ดไปปลูกจะต้องมีการคัดเลือกต้นในแปลงอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งจะมีลักษณะเหมือนมีมะละกอ 2สายพันธุ์อยู่ภายในต้นเดียวกัน
คือระยะต้นเล็กจะมีสีแดงอมม่วง บริเวณก้านใบและมีจุดตามลำต้นคล้ายกับมะละกอพันธุ์โกโก้ เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่สีเหล่านั้นจะหายไป
ในขณะที่พันธุ์โกโก้และจุดยังคงเดิม และเมื่อผลสุกเนื้อมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีสีเหลืองอมส้มคล้ายกับมะละกอพันธุ์สายน้ำผึ่ง
มะละกอพันธุ์ครั่งที่คัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นมะละกอต้นเตี้ย มีลักษณะผลใหญ่และยาว(ต้นกะเทย)บริเวณผลจะมีร่องข้างผลยาวตลอดตั้งแต่หัวไป ยังท้ายผล
เมื่อผ่าดูลักษณะภายในจะมีความหนาของเนื้อประมาณ 2 เซนติเมตร สีของเนื้อมีสีขาวขุ่นและไม่แข็งกระด้าง รสชาติหวานกว่าพันธุ์แขกนวล
จากการศึกษาในแปลงปลูกของทางราชการหรือในแปลงปลูกของเกษตรกรหรือแม้แต่ในแปลงปลูกของแผนกฟาร์มชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร
จังหวัดพิจิตรพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งมีความต้านทานต่อโรค ไวรัส จุดวงแหวนได้ดีระดับหนึ่ง


การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์:


เกษตรกรจะต้องเริ่มต้นด้วยการเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่งอย่างถูกวิธีเสียก่อน


การเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง


ด้วยการใช้วัสดุเพาะที่มีสัดส่วนของหน้าดิน 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และขุยมะพร้าว 1 ส่วน
ให้แช่เมล็ดมะละกอไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่ในน้ำอุ่น(ใช้มือจุ่มลงไปในน้ำรู้สึกว่าไม่ร้อน) นานประมาณ 1 ชั่วโมง
เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด


การเตรียมแปลงและระยะปลูกมะละกพันธุ์ครั่ง


แปลงที่จะใช้ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควนจะยกแปลงลูกแบบลูกฟูกหรือร่องลอยให้มีความกว้างของแปลง 6 เมตร
ใน 1 แปลงปลูก จะปลูก 2 แถวคู่ ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร
พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะปลูกมะละกอครั่งได้ ประมาณ 192 ต้น มีเกษตรกรบางรายจะยกแปลงเป็นลูกฟูกและจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงแถวเดียว
โดยใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร หรือต้องการให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีอาจจะปรับระยะปลูกเป็น 3.5 x 3.5 เมตรก็ได้
แต่ละหลุมปลูกควรปลูก 2-3 ต้น เพื่อคัดต้นตัวผู้ทิ้ง(ซึ่งพบน้อยมาก) แต่ถ้าจะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรคัดต้นตัวเมียทิ้งด้วย
แต่สำหรับเกษตรที่ปลูกเพื่อผลิตเป็นมะละกอดิบขายไม่จำเป็นต้องตัดต้นตัวเมียทิ้ง
เนื่องจากทรงผลจะออกยาวไม่กลมเหมือนกับมะละกอพันธุ์แขกนวลหรือพันธุ์แขกดำ


สภาพดินและการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง


ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรไม่ควรขุดหลุมปลูกให้มีความลึกเกิน 30 เซนติเมตร แต่ควรจะขุดหลุมให้กว้างๆ
เพราะเมื่อมีการให้น้ำดินจะยุบตัวทำให้หลุมปลูกระบายน้ำไม่ได้ ผลที่ตามมาจะทำให้โคนโคนและรากมะละกอเน่าได้
เกษตรกรที่ไม่ต้องการให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงควรจะโน้มต้นลงเพื่อป้องกันการหักล้มในช่วงที่มีการติดผลดก
ในสภาพพื้นที่ปลูกที่อยู่ในพื้นที่สูงและมีสภาพลมแรงไม่มีไม้บังลม เกษตรกรจำเป็นจะต้องโน้มต้นลงเมื่อต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือน
เกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควรจะคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษหญ้า

หลังจากต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือนเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือ 19-19-19 ใส่ให้ต้นละ 50-100 กรัม
ปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากขึ้น เกษตรกรอาจจะสลับมาใส่ปุ๋ยคอกสลับบ้าง เช่นปุ๋ยขี้ไก่
โดยใส่ปุ๋ยเคมีเหลือเพียงเดือนละ 1 ครั้งก็พอ และใส่ให้ต้นละประมาณ 1 กำมือ

อย่างไรก็ตาม น้ำจัดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง ตั้งแต่เริ่มหลุมปลูกจนเก็บเกี่ยวผลดิบขาย
อย่าปล่อยให้ต้นมะละกอขาดน้ำ จะมีการติดตั้งระบบการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ต้นละ 1 หัว
ก็ได้หรืออาจจะให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้3-5วันต่อครั้งก็ได้
หลังจากที่ลงหลุมปลูกแล้วถ้าเป็นไปได้ใต้ต้นมะละกอทุกต้นควรจะคลุมด้วยฟางข้าวเพื่อลดปริมาณวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นในดิน
ในทางปฏิบัติการใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกมะละกอยังมีข้อจำกัดและเกษตรกรจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
แม้แต่สารในกลุ่มไกลโฟเสก็ตามอาจจะมีผลข้างเคียงกับต้นมะละกอพันธุ์ครั่งได้


ความแตกต่างระหว่างการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง หลุมละ 1 ต้น และ 2 ต้น


ในการคัดเลือกต้นมะละกอพันธุ์เมื่อเริ่มมีการออกดอกและติดผลให้คัดต้นตัวผู้ทิ้งเท่านั้น ซึ่งมีน้อยมาก
ต้นตัวเมียถึงแม้จะให้ลูกกลมแต่ก็กลมไม่มาก และมีความยาวของผลพอสมควรขายเป็นมะละกอดิบเพื่อทำส้มตำได้
การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงหลุมละ 1 ต้น จะได้ต้นมะละกอที่มีลำต้นที่อวบอ้วน ขนาดของผลจะใหญ่และสมบูรณ์มาก
ในขณะที่ปลูกหลุมละ 2 ต้น ถึงแม้ต้นจะยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ขนาดของลำต้นเล็กกว่าเนื่องจากแย่งอาหารกันมีผลทำให้มะละกอมีขนาดเล็ก เรียวยาว
และน้ำหนักผลน้อยกว่า แต่เป็นข้อดีตรงที่ผลมะละกอดิบไม่ใหญ่จนเกินไป


เทคนิคการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง


มะละกอพันธุ์ครั่ง จะให้ผลผลิตและเก็บจำหน่ายผลดิบหลังจากที่ย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง 5-6 เดือน
จากการสังเกตลักษณะของการออกดอกและติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้คือ ในช่วงเดือนที่ 9 หลังการปลูกลงดิน
ผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะเหมาะที่จะตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งแล้วเลี้ยงยอดใหม่
หรือเรียกว่าวิธีการทำสาวหลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3 เดือนเท่านั้น ข้อดีใหม่ของมะละกอพันธ์ครั่งจะเริ่มออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในเวลา ต่อมา
ข้อดีของการทำสวนมะละกอพันธุ์ครั่งจะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตง่าย เพราะมะละกอมีต้นเตี้ยเหมือนกับต้นที่ปลูกใหม่
และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ง่ายขึ้น การทำสาวมะละกอจะยังคงรักษาพันธุ์เดิมไม่มีการกลายพันธุ์ถ้าปลูกในครัวเรือนไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์ สามารถกำหนดการให้ผลผลิตได้โดยวิธีการทำสาว
สามารถกำหนดให้มะละกอมีจำหน่ายได้ในช่วงหน้าแล้ง ในช่วงฤดูแล้งราคามะละกอดิบจะมีราคาแพงที่สุดคือตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้น มาจนถึงเทศกาลสงกรานต์
ในช่วงเวลาดังกล่าวบางปีราคามะละกอดิบขายจากสวนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 8-15 บาท โดยเกษตรกรนับถอยหลังไปราว 4-5เดือน
และตัดต้นมะละกอทำสาวในช่วงเวลานั้น เช่น จะให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งให้ผลผลิตขายได้ในเดือนมกราคม
ให้ตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวในช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม เป็นต้น



วิธีการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง


แนะนำให้เกษตรกรตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร
เหตุผลที่จะต้องตัดที่ความสูงระดับนี้เผื่อเอาไว้ให้ลำต้นมะละกอต้องผุเปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบมือ
หลังจากตัดต้นมะละกอแล้วไม่จำเป็นจะต้องทายาเชื้อราหรือปูนแดง เนื่องจากลำต้นมะละกอจะผุเปื่อยลงไปจนถึงจุดทียอดตาใหม่จะแตกออกมา
เกษตรกรอาจจะสงสัยว่าเมื่อตัดต้นมะละกอแล้วจำเป็นจะต้องเอาถุงพลาสติกมาคลุมต้นมะละกอเพื่อป้องน้ำหรือฝนที่จะทำให้ต้นเน่าได้หรือไม่
ความจริงแล้วถ้าเกษตรกรใช้ถุงพลาสติกมาคลุมรอยแผลจะทำให้ต้นเน่าได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากน้ำที่ระเหยจากลำต้นจะไปเกาะติดที่พลาสติกจนน้ำขังภายในลำต้น ไม่มีการระบายน้ำออก
จะส่งผลให้ลำต้นเน่าแต่ถ้าตัดต้นแล้วปล่อยไว้ตามธรรมชาติไม่ต้องทำอะไร เมื่อมีฝนตกลงมาและมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณรอยแผล
น้ำจะแห้งหรือระเหยไปเองเพราะจะโดนแดด โดนลมแต่เกษตรกรจะต้องเจาะรูเพื่อให้น้ำมีทางระบายอกจากลำต้นด้วย

หลังจากที่ตัดต้นทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่งแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร16-16-16 หรือสูตรที่ไนโตรเจนสูง
เช่น สูตร 32-10-10 พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกเก่าบำรุงต้นไปพร้อมกัน และมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งให้ต้นมะละกอแตกยอดออกมาใหม่
เมื่อมีการแตกยอดออกมาจำนวนมากให้คัดเลือกยอดมะละกอพันธุ์ครั่งที่มีความสมบูรณ์ไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้น
และจะต้องหมั่นเด็ดยอดที่ไม่ต้องการออกให้หมด เพื่อไม่ให้เจริญเติบโตแข่งกัน
หลังจากที่เลี้ยงยอดไปนานประมาณ 3 เดือน จะเริ่มออกดอกและติดผล


ปัจจุบันส้มตำเป็นอาหารหลักของคนอีสานและเป็นอาหารที่ได้เผยแพร่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ
นอกจากนั้นยังแพร่หลายกลายเป็นอาหารที่คนต่างชาติรู้จักกันมากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักมะละกอพันธุ์ครั่ง
วิธีสังเกตง่ายๆ คือ จะมีร่องที่ผลเมื่อซื้อไปทำส้มตำแล้วล้วนแต่ประทับใจในความอร่อยและกรอบกว่ามะละกอสายพันธุ์อื่นๆ
สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์มีตัวอย่างเกษตรกรที่ จ.เพชรบูรณ์ คือ คุณยุพิน บั้งทอง
เริ่มปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในพื้นที่เพียง 2 ไร่ หลังจากปลูกต้นกล้าลงดินไปนานประมาณ 5 เดือนเท่านั้น
เก็บมะละกอดิบขายได้มากถึง 5,000 กิโลกรัม



ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับ 1 ธันวาคม 2551 หน้า 16-18
อ้างอิงที่มา:เว็บเกษตรแผ่นดินทอง


พี่น้องบ้านมหามีผู้ใด๋ปลูกแหน่บ่ค่ะ ขอข้อมูลเพิ่มเติม และลบกวนถ่ายภาพสวนมะละกอมาให้เบิ่งแหน่เด้อจ้า
ขอบคุณหลายๆค่ะ

เทคนิคการปลูกมะละกอให้ลูกดก


คลิ๊กที่ภาพ

คุณ พ่อสมพงษ์ จ. ขอนแก่น แนะนำว่าควรมีการเตรียมดินอย่างดี เช่นก่อนที่จะปลูกต้องมีการไถพรวนดินแล้วใส่ปุ๋ยคอก ก่อนที่จะนำต้นกล้ามาปลูกลงดินที่เตรียมไว้ เด็ดรากแก้วออกแล้วนำปูนขาวทา จะทำให้มะละกอได้ผลดก สิ่งที่สำคัญ คือน้ำ อย่าให้ขาด เพราะจะทำให้ต้นมะละกอเฉาได้ วิธีการปลูก
มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม

ความเชื่อของคนอีสาน

ใช้ผ้าถุงห่มให้ต้นมะละกอตัว หรือ ใช้กระดูกสัตว์ตอกเข้ากลางลำต้น ... วิธีหลังมะละกอกลัวตายมากกว่า ก็จะให้ลูกดอก อิอิ


เพิ่มยอดมะละกอ....โดยตัดต้นมะละกอสูงประมาณ50เ็นต์และวบำรุงต้นจะเกิดยอดออกมาข้างๆหลายกิ่ง..ต้นเตี้ยด้วย

การทำให้มะละกอติดลูกดกนั้น อาจจะทำให้ต้นโทรมเร็วหากดูแลไม่ถูกวิธี แต่การทำให้มะละกอติดลูกติดต่อกันหลายปีนี่สิน่าสนใจนะครับ ขอแนะนำเทคนิคการทำสาวให้มะละกอของ คุณสนอง เศษโม้ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.มหาสารคาม บอกว่าหลังจากที่เกษตรกรได้เก็บผลผลิตมะละกอรุ่นแรกไปแล้ว ควรจะทำสาวด้วยการตัดต้นมะละกอแล้วเลี้ยงยอดใหม่ ซึ่งหลังจากตัดต้นไปแล้วเพียง 3 เดือน ยอดใหม่ที่แตกออกมาจะเริ่มออกดอกและติดผลตรงตามสายพันธุ์เดิมและเก็บผล มะละกอดิบได้ในเดือนที่ 4 หลังจากตัดต้น เทคนิคในการทำสาวให้มะละกอให้ตัดต้นมะละกอให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร (เผื่อลำต้นมะละกอจะต้องผุเปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบ) แต่เกษตรกรจะต้องช่วยเจาะรูให้น้ำมีทางระบายออกจากลำต้นด้วย ในการทำสาวเพื่อจะให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดีควรทำในช่วงฤดูฝน หลังจากตัดต้นมะละกอเสร็จแล้ว
หลังจากตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวเสร็จเกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 หรือสูตรตัวหน้าสูง เช่น 32-10-10 และใส่ปุ๋ยคอกเก่าร่วมด้วย มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจะมียอดมะละกอแตกออกมาใหม่หลายยอดให้คัดเลือกยอดที่สมบูรณ์ที่ สุดเหลือไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ยอดเจริญแข่งกัน
ต้นมะละกอที่มีการทำสาวทุกปีจะมีการติดดกเหมือนกับต้นมะละกอปลูกใหม่ซึ่งผิด กับต้นมะละกอที่ไม่เคยทำสาวเลยจะมีการออกดอกและติดผลน้อยลง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอในเชิงพาณิชย์ จะสามารถกำหนดการให้ผลผลิตด้วยวิธีการทำสาวกำหนดให้ต้นมะละกอมีผลผลิตขายได้ ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยมาจนถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งราคามะละกอดิบเพื่อใช้ ส้มตำในช่วงเวลาดังกล่าวจะเฉลี่ยสูง


 ต้นไม้ก็เหมือนคนเรานั้นแหละค่ะ ถ้าต้องการให้พืชโตเร็วให้ผลผลิตมากๆเราก็ต้องมีวิธีบำรุงมันด้วย หรืออาจจะให้อาหารเสริมสำหรับพืชด้วย อย่างนี้เราต้องการให้มะละกอนั้นผลดกถ้าเร่งมะละกอมากเกินไปอาจจะทำให้มัน โทรมจนแก่ตายได้นะค่ะ ดังนั้นเราก็ต้องให้อาหารจานด่วนกับมะละกอด้วยแหละ หนูได้สูตรนี้มาจากอาจารย์ที่เชียวชาญด้านการปลูกพืชมาจาก
อาหารจานด่วน
วิธิทำ
1. ไข่ไก่ 1 ฟอง กระเทาะเปลือก ตีให้เข้ากัน
2. น้ำ 20 ลิตร
3. ปุ๋ยยูเรีย 20 cc
4. จูลินทรีย์หน่อกล้วย 4 ช้อนแกง
5. นำส่วนประกอบทั้งหมดมาหมักรวมกัน 7 วัน ก็สามารถใช้การได้

วิธีใช้
1. สามารถใช้ผสมจูลินทรีย์หน่อกล้วย ในปริมาณ 20 cc /จูลินทรีย์หน่อกล้วย 20 cc/ น้ำ 20 ลิตร ก็ได
2. ใช้เฉพาะอาหารจานด่วนก็ได้ 20 cc/ น้ำ 20 ลิตร

แนะนำต่อไปด้วยนะค่ะไม่เปลืองมากค่ะ


มีเทคนิคและวิธีการทำให้มะละกอลูกดกดังนี้

โดยเริ่มจากการเตรียมดินให้มีความอุดมสมบรูณ์ก่อน และก่อนย้ายกล้าที่เพาะไว้ลงปลูกในแปลง คุณพ่อจะใช้ภูมิปัญญาเก่าๆ ที่สืบทอดกันมาทำให้มะละกอเป็นต้นกระเทยเสียก่อน โดยการตัดรากแก้วออกให้เหลือประมาณ 2 ข้อมือ แล้วนำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ วิธีนี้นอกจากจะทำให้มะละกอติดลูกดกแล้ว ยังทำให้มะละกอโตเร็ว เก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น 1 เดือน ทั้งยังติดลูกดกทุกต้นด้วย

ขอแนะนำให้ดูที่ดินเป็นอันดับต้น ๆ นะค่ะ
ดินต้องดีมีประสิทธิภาพก่อนด้วยการเพื่อจุลินทรีย์ในดินด้วยการราด
น้ำหมัดชีวภาพ ค่ะ ประการที่ 2 ให้เพื่อต้วแคลเซียมให้โดยเปลือกกุ้ง
เปลือกปู หอย ที่เรากินแล้ว มาทิ้งไว้โค้นต้นเพื่อเป็นปุ๋ยค่ะ


นครชัยศรี เจอสวนมะละกอนายปรุง ในยุคมะละกอกิโลละห้าสิบ แต่มังคุดแค่สิบ

ไปหาข้าวกินแถวนครชัยศรี เจอสวนมะละกอนายปรุง ในยุคมะละกอกิโลละห้าสิบ แต่มังคุดแค่สิบ


ตอน ที่นั่งเขียนอยู่นี้ ผลโหวตของบล็อกนี้ระหว่างเรื่องกินกับเรื่องเที่ยว ดูท่าว่าคนโหวตว่าชอบเรื่องกินจะชนะขาดคนที่โหวตชอบเรื่องเที่ยว อยู่ที่ 340 ต่อ 35 เกิดความคิดกับตัวเองว่าหรือจะ เลิกเที่ยว เก็บเงินไว้ไปหาอาหารเด็ด ๆ กิน ก็น่าจะดีเหมือนกัน แล้วก็เก็บภาพหาเรื่องมาเล่ายั่วน้ำลายกันเล่น แล้วก็ได้อิ่มอร่อยท้อง

 
เมื่อ ไม่กี่วันมานี้วนรถว่าจะไปหาข้าวกินแถว ๆ ศาลายา จากหน้ามหาวิทยาลัยมหิดลเลี้ยวซ้ายไปตามถนนศาลายา-นครชัยศรี ขับไปเรื่อย ๆ ยังไม่เจอร้านโดนตาโดนใจ จนเลยวัดสุวรรณ ประมาณว่าจากแยกศาลายามาก็ประมาณ 9 กิโลเมตร  ยังอยู่ในเขตตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ก็เจอร้านชื่อ อู่ข้าวอู่ปลา อยู่ทางขวามือ นึกคุ้นตาขึ้นมาจากหน้าหนังสือบ้าง หน้าเว็บบ้าง บรรยากาศร่มเงาแบบบ้านทุ่งชวนสนใจก็เลยลองแวะเข้าไปดู
อาหาร ออกหน้าตาไทย ๆ ที่ลองสั่งมาชิมรสชาติ ก็เช่น ยำตะไคร้ ซึ่งทางร้านออกแบบมาให้กินได้ทั้งแบบยำ และแบบเมี่ยง ไข่ตุ๋นที่เขาเอาน้ำและเนื้อแบบต้มยำกุ้งราดมาบนหน้าไข่  ปลาสลิดที่นี่เขาไม่ได้ขายแบบทอด แต่แกะเนื้อมาทำไข่เจียวปลาสลิด แล้วก็เอามาแกงกะทิใส่ใบมะขาม เป็นต้น ราคาอาหารพอให้จับต้องได้ จานละ สี่สิบ ห้าสิบ หกสิบ เจ็ดสิบ แปดสิบบาท หม้อไฟก็ร้อยนึง ถ้าเป็นปลาตัวราคาก็สูงขึ้นไปแต่ก็ยังไม่ถึงสองร้อยอยู่ดี
ร้าน ไม่มีห้องปรับอากาศ แต่อากาศกลางวันก็ไม่ทำให้ร้อนเพราะมีลมสวนช่วยกระพือพัด ถ้าไม่ชอบนั่งบนบ้าน จะย้ายมานั่งข้างล่างที่ออกแบบจัดสวนแบบชาวบ้าน ให้อารมณ์เหมือนอยู่กับบ้านก็ได้ แต่ข้างล่างนี่น่าจะเหมาะกับช่วงแดดร่มลมตกมากกว่า ด้วยว่าร้านเขาเปิดขายตั้งแต่สี่โมงเช้าไปจนถึงสี่ทุ่ม
 
จ่าย เงินค่าอาหารเสร็จ เดินลงจากร้านจะกลับมาที่รถ เหลือบไปเห็นสาวหน้าตาน่ารักขับรถมาซื้อมะละกอที่สวนซึ่งอยู่ภายในบริเวณ รั้วเดียวกันกับร้าน ส่งไมตรีถามไถ่ได้ความว่าบ้านอยู่แถวคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อนฝูงจะยกพลมาเยี่ยมเยียน เลยมาหาซื้อมะละกอเตรียมไว้ต้อนรับ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่ามะละกอเจ้านี้แหละที่ส่งขึ้นห้างอย่างสยามพารากอน และเดอะมอลล์ ชื่อว่าสวนนายปรุง
 
พอ ได้ยินชื่อสวนนายปรุง ก็คิดถึงมะละกอแขกดำที่ขายอยู่ที่ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตลาดริมแม่น้ำนครชัยศรีที่มีของกินของขายให้ไปท่องเที่ยวกันนั่นแหละ ติดสติกเกอร์ยี่ห้อนี้ขายอยู่ที่กิโล (กรัม) ละห้าสิบบาท ถามราคาแล้วไม่ซื้อแถมยังแอบนึกในใจว่ามะละกออะไรแพงจัง แขกดำแถวบ้านขายกิโลละยี่สิบแปดบาท ยังต่อ (ราคา) แล้วต่ออีก ต่อไม่ให้ก็หันไปซื้อมังคุดกิโลละสิบบาทไปกินแทน
 
เจอ ตัวนายปรุงเก็บมะละกอมาขายเอง ฟังว่าปลูกเองขายเองอย่างนี้มายี่สิบปีแล้ว กว่าจะได้แขกดำที่เนื้อแดงแน่นหวานชุ่มนุ่มลิ้นอย่างที่เป็นอยู่ เคล็ดดี ๆ ก็คือต้องใช้ขี้ค้างคาวเป็นปุ๋ยช่วย ต้นไม่ปล่อยให้โตสามปีตัดแล้วลงใหม่ เพราะยิ่งสูงลมจะตีลูกมะละกอแกว่งเป็นแผล พอลูกเริ่มโตก็ต้องห่อเพื่อกันนกเจาะแล้วมดซ้ำ เป็นโรคก็อย่าเสียดาย ปลูกมะละกอขายให้ทำใจแต่เริ่มหวังผลแค่ครึ่งเดียว
 
ยัง ไม่ได้ชิม แค่คุยถึงมะละกอก็ชักจะได้รส เมื่อก่อนเวลาพูดถึงชื่อภาษาอังกฤษของมะละกอก็จะนึกได้แต่เพียง Papaya ตอนหลังถึงได้รู้ว่า Pawpaw หรือ Tree Melon ก็หมายถึงมะละกอเหมือนกัน คนเหนือ คนลาว เรียกว่า ก้วยเท็ด (เทศ) มะก้วยเท็ด  กะเหรี่ยงทางเหนือเรียก สะกุยเส่ ถ้าเป็นเงี้ยวเรียก หมากซางพอ คนอีสานเรียก หมากหุ่ง หมักหุ่ง บักหุ่ง บักกอ คนใต้เรียก ลอกอ แถวปัตตานีเรียก มะเต๊ะ ถ้าทางยะลาเรียก ก้วยลา แถวสตูลเรียก แตงต้น ถ้าเป็นคนจีนฟังเสียงมาได้ว่า เจียะกวย หรือ ฮวงบักกวย ผิดถูกก็โทษรูหูที่ฟังมาผิดก็แล้วกัน
 
มะละกอ สุกมีทั้งวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง ซี ซีหนึ่ง ซีสอง แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โซเดียม โปตัสเซียม ไนอาซิน เบตาแคโรทีน แล้วก็พวกกากหรือเส้นใย หยิบเนื้อสุกมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงเครื่องปั่น เติมน้ำตาลทรายแดงหน่อยเกลือป่นนิด ใส่น้ำแข็งแล้วก็ปั่นให้ละเอียด ดื่มเป็นน้ำมะละกอปั่น อร่อยดีแล้วก็ยังช่วยย่อยอาหาร และระบายท้องแก้ท้องผูกได้ด้วย


คุย กับนายปรุงจนเพลิน เผลอเลือกหยิบมะละกอส่งให้เกือบสิบลูก ราคาที่สวนขายเท่าส่งกิโลละสามสิบห้าบาท ถ้าเป็นแผลถูกเจาะทาปูนแดงกันลามไว้ก็ขายกิโลละยี่สิบ ได้จ่ายเงินทั้งกินข้าว ทั้งซื้อมะละกอ แล้วสบายใจ สมกับที่เป็นชนเผ่าบริโภคนิยมจริง ๆ !!!

Saturday, October 6, 2012

สารประกอบ ปาเปน (papain)ในมะละกอ


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปาเปน
ปาเปนคืออะไร ?
ปาเปนเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในยางมะละกอซึ่งปกติจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เป็น Proteolytic enzyme อยู่ 4 ชนิด คือ Papain, Chymopapain A และ B และ Papaya peptidase A โดย Chymopapain เป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดในยางมะละกอ รองลงมาคือ Papain ซึ่งมีประมาณต่ำกว่าร้อยละ 10 และ papaya peptidase A มีปริมาณน้อยที่สุด เอนไซม์ Chymopapain มีความอยู่ตัว ทนความร้อนและทนต่อสภาพกรดได้ดี และเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เนื้อมีความนุ่ม สายพันธุ์มะละกอที่สามารถผลิตน้ำยางสดได้สูงคือ สายพันธุ์จำปาดำ และแขกดำ โดยจะพบยางมะละกอในส่วนที่เป็นใบก้าน และผลดิบ ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจเป็นไปได้ ในการกรีดเอายางมะละกอมาใช้ประโยชน์ เพื่อการอุตสาหกรรมในอนาคต
ประโยชน์ของปาเปน
1. ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เบียร์ ไวน์และเครื่องดื่มอื่น ๆ โดยปาเปนจะทำหน้าที่ละลายโปรตีนในผลิตภัณฑ์ และให้สารละลายใสไม่ขุ่นเมื่อเก็บไว้นานหรือที่อุณหภูมิต่ำ
2. ในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์และปลา จะทำให้เนื้อสัตว์นั้นนุ่มเปื่อยเมื่อนำมาประกอบอาหาร
3. ในอุตสาหกรรมยาและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยใช้เป็นองค์ประกอบของยาช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาพวกแผลติดเชื้อ เนื่องจากปาเปนมีคุณสมบัติให้เลือดแข็งตัวและยังสามารถใช้ฆ่าพยาธิในลำไส้ ด้วย
4. ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง โดยผสมปาเปนในน้ำยาแช่หนังจะทำให้หนังเรียบ และนุ่ม
5. ในอุตสาหกรรมทอผ้า จะใช้ปาเปนฟอกไหมให้หมดเมือก
6. ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ

อ้างอิง :: http://202.143.141.162/web_offline/srp/091954310.html

การเกษตรเรื่องพันธุ์มะละกอ

การเกษตรเรื่องพันธุ์มะละกอ
มะละกอมีมากมายหลายพันธุ์ แต่มะละกอเป็นพืชที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของบ้านเรา พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกในบ้านเรามีด้วยกันทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ
1. พันธุ์โกโก้ มีทั้งก้านใบสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงเข้มหรือสีเขียวอ่อน พวกที่ก้านสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวจะสังเกตเห็นจุดประสีม่วงตามบริเวณลำต้น ได้ชัดเจน โดยเฉพาะในขณะต้นอายุไม่มาก พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย อวบแข็งแรง มีขนาดผลขนาดเล็กถึงปานกลางผลค่อนข้างยาวผิวเกลี้ยงเป็นมันปลายผลใหญ่ หัวผลเรียว เนื้อแน่นและหนาสีแดงหรือสีชมพูเข้มรสหวานอร่อย
พันธุ์แขกดำ
พันธุ์แขกดำ
2. พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ลำต้นอวบแข็งแรง ต้นเตี้ยให้ดอกติดผลเร็ว ก้านใบสีเขียวอ่อน รูปทรงของผลยาวรีสีผลออกสีเขียวแก่หรือสีเขียวเข้ม มีเนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย ผลสุกเนื้อสีแดงเข้มมีรสหวาน
3. พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ ผลค่อนข้างโตทรงผลป้าน คือด้านขั้วผลเล็กและขยายออกด้านท้ายผล เปลือกผลสีเขียว เมื่อสุกเนื้อออกสีแดงปนส้ม เนื้อหนาเนื้อแน่น มีเมล็ดมากรสหวาน
4. พันธุ์จำปาดะ เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นอวบแข็งแรง ออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ ใบและก้านใบออกสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นและเนื้อไม่ค่อยแน่น
มะละกอ
มะละกอ

มะละกอผักผลยอดนิยม สารพัดประโยชน์



          เราอาจจัดมะละกออยู่ในจำพวกผักที่เรียกว่า “ผักผล” (Fruit Vegetables) เพราะใช้ผลมาประกอบอาหาร(คาว) เป็นหลัก แม้จะใช้ส่วนอื่นๆ (เช่น ใบ ยอด) เป็นด้วยผักได้ด้วย แต่ใช้น้อยกว่าผลมาก ผักจำพวก “ผักผล” นี้มีหลายชนิด เช่น มะเขือ แตงกวา ฟังทอง เป็นต้น ในบรรดาผัดที่มีอยู่มากมายหลายชนิดนั้น มะละกอนับได้ว่าเป็นผักผลที่ได้รับความนิยมสูงและมีประโยชน์ในด้านต่างๆ กว้างขวางกว่าผักผลชนิดอื่นๆ แทบทุกชนิด จึงคงไม่ผิดความจริงหากเราจะเรียกมะละกอว่าเป็นผักผลยอดนิยมสารพัด ประโยชน์ของชาวไทย

          รากเหง้าพื้นเพดั้งเดิมของมะละกอ : “ฉันมาไกล ” เหมือนกัน
          ตอนที่แล้วได้กล่าวถึง กระถินว่าเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาแสนไกล จนอาจกล่าวได้เต็มปากว่า “ฉันมาไกล” เพราะมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาซึ่งอยู่คนละฟากโลก ประโยคดังกล่าวอาจนำมาใช้กับมะละกอได้เช่นเดียวกัน เพราะมะละกอมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิม อยู่ในทวีปอเมริกาแถบร้อน ก่อนที่จะถูกนำไปปลูกในประเทศต่างๆ ที่มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกันทั่วโลก
          สำหรับประเทศไทยนั้น สันนิษฐานว่า มะละกอถูกนำเข้ามาปลูกครั้งแรกหลายน้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่เริ่มติดต่อค้าขายกับชาวยุโรปในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากนั้นจึงกระจายไปปลูกในทุกภาคของประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของพืชผักพื้น บ้านและส่วนประกอบของตำรับอาหารไทยหลายชนิด โดยเฉพาะตำรับอาหาร “ยอดนิยม” อย่างส้มตำเป็น
          มะละกอเป็นชื่อที่เรียกในบริเวณภาคกลาง ส่วนในภาคอื่นๆ ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียก “มะก้วยเทศ” ภาคอีสานเรียก “หมักหุง” และภาคใต้ (ยะลา) เรียก “แตงต้น” เป็นต้น ส่วนในภาษาอังกฤษเรียกว่า papaya หรือ melontree (ซึ่งแปลว่า แตงต้น เหมือนชื่อของภาคใต้)

          สำหรับชื่อทางพฤกษศาสตร์ของมะละกอ คือ carica papaya Linn. มีลักษณะโดยทั่วไป คือ เป็นพืชยืนต้นเนื้ออ่อน ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 3-4 เมตร ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ขอบใบหยักเว้าลึก ก้านใบกลมยาว กลวง ยาวประมาณ 1 เมตร ใบ ดอก และผล รวมอยู่เฉพาะส่วนบนยอดสุดของลำต้น ดอกมีสีขาวครีมแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และตอกกระเทย



          ผลมีหลายขนาดและรูปทรงตั้งแต่กลม รี และยาว ขนาดของผล มีตั้งแต่ไม่ถึง 100 กรัม ถึงหลายกิโลกรัมต่อผล          เปลือกผลดิบมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงแสดเมื่อสุก เนื้อในผลเมื่อดิบมีสีขาวเมื่อสุกมีสีเหลืองถึงแสดแดง          เมล็ดเมื่อยังอ่อนมีสีขาว และเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่เต็มที่
          ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว (Latex) โดยเฉพาะผลดิบมียางมากเป็นพิเศษ มะละกอทนความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร แต่ทนน้ำท่วมและความชื้นแฉะไม่ได้

มะละกอในฐานะผักพื้นบ้าน
          มะละกอถูกนำมาใช้บริโภคเป็นผักได้หลายส่วนด้วยกัน เช่น ผล(ดิบ) ยอด ใบ และลำต้น ส่วนที่ใช้มากที่สุด คือ ผลดิบ ซึ่งอาจใช้บริโภคดิบก็ได้ เช่น นำมาปรุงตำส้มที่ชาวไทยรู้จักดี หรือนำมาทำให้สุกเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นต้ม (หรือต้มกะทิ) เป็นผักจิ้ม แกงส้ม ต้มกับเนื้อ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนำเนื้อมะละกอดิบมาดองกับน้ำส้มเป็นผักดอง หรือนำเนื้อมะละกอมาดองเกลือ ตากแห้ง เป็นตังฉ่าย ใช้ปรุงอาหารจีนก็ได้
          ยอดอ่อนและใบมะละกอก็นำมาใช้ปรุงอาหารเป็นผักได้เช่นเดียวกันแต่ในเมืองไทย ยัง ไม่นิยมกัน อาจจะเป็นเพราะรังเกียจความขมหรือยางในใบและยอด แต่ในหลายประเทศนิยมกันมาก เช่น บนเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น ข้อดีประการหนึ่งของการนำใบและยอด มะละกอมาบริโภคเป็นผัก ก็คือ มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ชนิดต่างๆ จึงอยากขอฝากให้ชาวไทยที่มีฝีมือในการปรุงอาหารช่วยนำใบและยอดมะละกอมาทดลอง ประกอบอาหารให้ มีรสชาติที่คนไทยยอมรับเป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยในอนาคตมาก

          ในส่วนลำต้นมะละกอนั้นเมื่อปอก เปลือกด้านนอกออกจะได้เนื้อภายในที่มีสีขาวครีมและค่อนข้างอ่อนนุ่ม คล้านเนื้อผักกาดหัวจีน (ไชเท้า) จึงสามารถนำมาปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับผักกาดหัว โดยเฉพาะนำมาดองเค็ม ตากแห้ง เหมือนหัวผักกาดเค็ม (ไชโป๊) มะละกอนับเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง เช่น เนื้อในผลซึ่งแม้คุณค่าจะด้อยกว่าใบและยอด แต่ก็นับว่าสูงโดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แร่ธาตุเหล็ก และแคลเซียม เป็นต้น





ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะละกอ          ในต่างประเทศประชาชนส่วนใหญ่รู้จักมะละกอในฐานะผักเพราะมะละกอสุกเป็นผลไม้ ที่ ดีมากชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมกินกันทั่วโลกไม่เฉพาะในเขตร้อนที่ปลูกมะละกอได้เท่านั้น แต่ยังนำเข้าไปในประเทศเขตอบอุ่นที่ปลูกมะละกอไม่ได้อีกด้วย มะละกอสุกสามารถกินสด บรรจุกระป๋อง นำไปทำแยม และทำน้ำผลไม้ได้ดี มีรสอร่อย สีสวยน่ากิน คุณค่าทางโภชนาการสูง มีคุณค่าทางสมุนไพร มีผลให้กินตลอดปี ผลิตได้ง่าย ราคาไม่แพง ฯลฯ มะละกอมีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมผลิตเอนไซม์ปาเปอีน (papain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารหมัก ทำให้เนท้อเปื่อยนุ่ม ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น
          เอนไซม์ปาเปอีนได้จากยางมะละกอ ซึ่งกรีดแผลบนผลมะละกอดิบแล้วปล่อยให้แห้ง นำยางมะละกอแห้งมาสกัดเอนไซม์ปาเปอีน และเอนไซม์อื่นๆ บางชนิด ยางมะละกอนี้แม่บ้านชาวไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์นานแล้ว เช่น ใช้หมักเนื้อให้อ่อนนุ่ม ใส่ในต้มแกงให้เนื้อเปื่อยยุ่ย เป็นต้น

มะละกอมีคุณค่าด้านสมุนไพรมากมายแทบทุกส่วนของพืชชนิดนี้ เช่น
          * ยาง แก้ปวดฟัน ถ่ายพยาธิไส้เดือน กัดหูด ใช้ลบรอยฝ้าบนใบหน้า
          * ราก ต้มกินขับปัสสาวะ
          * เมล็ดแก่ ถ่ายพยาธิ แก้กระหายน้ำ
          * ใบ บำรุงหัวใจ
          * ผลดิบ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ
          * ผลสุก บำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ

          ในสมัยก่อนหมอดูมักใช้กระดานหมอดู ที่ทำจากเปลือกมะละกอโดยการทุบเปลือกแยกเนื้อออกจนหมด เหลือแต่เส้นใยแล้วลงรักและเขม่าจนแข็งดำ ตากให้แห้ง ก็จะได้แผ่นกระดานดำที่เบาและทนทานมาก






          ตำราการปลูกต้นไม้ในบ้านบาง ฉบับมีข้อห้ามมิให้ปลูกมะละกอในบริเวณบ้านเพราะถือตามเสียง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับคำที่ว่า อัปมงคล คือ มะละกอ มีคำว่า “มะละ” พ้องกับบคำว่า “มร” (มะระ) ซึ่งแปลว่า ตาย จึงถือว่าเป็นอัปมงคล(คล้ายลั่นทมที่คล้ายคำว่า “ระทม”) แต่เท่าที่สังเกตดูทั่วไปในปัจจุบันพบว่า ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่ถือตามตำราฉบับนี้ จึงปลูกมะละกอในบริเวณบ้านกันทั่วไป

          แม้แต่ในสมุดคู่มือว่าด้วยการทำสวนครัวที่พิมพ์แจกเมื่อปี พ.ศ.2482 ในช่วงจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และรณรงค์ให้ชาวไทยทำสวนครัวกันอย่างจริงจังในสมุดคู่มือเล่นนั้นแนะนำให้ ปลูกมะละกอเอาไว้ในบริเวณบ้าน โดยย่กย้องมะละกอว่า “เป็นอาหารอย่างดี หาที่เปรียบได้ยาก” คำยกย่องนั้นยังคงใช้ได้อยู่จนกระทั่งวันนี้

          หากท่านผู้อ่านเห็นคุณประโยชน์ของมะละกอ ก็ขอให้ช่วยกันปลูกตามกำลังที่จะทำได้ ถ้าปลูกไม่ได้ก็อาจช่วยโดยการหาซื้อมะละกอมาบริโภคให้มากขึ้น เพื่อเกษตรกรไทยจะมีรายได้จากมะละกอเพิ่มขึ้นอีกด้วย

มะละกอ สมุนไพร ยาแก้เลือดออกตามไรฟัน

มะละกอ
มะละกอ
มะละกอ เป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ง่าย และมีประโยชน์ต่างๆนาๆ รับประทานได้ทั้งสุกและดิบ แต่มะละกอดิบคนส่วนใหญ่มักนำมาประกอบอาหารกันเช่น ส้มตำ แกงส้ม เป็นต้น นอกจากนั้น มะละกอยังมีชื่อเรียกอื่นๆอีกหลายชื่อ เช่น มะก้วยเทศ หมักหุ่ง ลอกอ กล้วยลา และแตงต้น มีความรู้ดีดีเกี่ยวกับ มะละกอ มาฝากกันค่ะ

ส่วนที่ใช้ : ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก
สรรพคุณ : มะละกอ
ผลสุกมะละกอ – เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบมะละกอ – เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
รากมะละกอ – ขับปัสสาวะ
มะละกอ
มะละกอ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เป็นยาระบาย
ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย
ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน
ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
รากมะละกอ เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง :
สำหรับผู้ที่รับประทาน มะละกอ สุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง
สารเคมี :
ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย
ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ
ยางมะละกอ มี enzyme ชื่อ papain ซึ่ง papain เป็นชื่อรวมสำหรับเรียกเอนไซม์จากน้ำยางมะละกอ ซึ่งประกอบด้วย papain 10% chymopapain 45% lysozyme 20%

โดย : สายน้ำ/ ThaiHealth.in.th

Friday, October 5, 2012

รอบรู้เรื่อง''มะละกอ''

รอบรู้เรื่อง''มะละกอ''

พันธุ์มะละกอที่ปลูกเป็นการค้า : ได้แก่

1. มะละกอพันธุ์พื้นเมือง เป็นมะละกอที่ปลูกกันมานานโดยมีการปล่อยให้มีการผสมข้ามกันเองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะมีผลขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื้อบาง ช่องว่างในผลกว้าง ผลสุกเนื้อสีเหลืองค่อนข้างเละ จึงนิยมบริโภคดิบมากกว่า การออกดอกติดผลช้าเป็นมะละกอที่ปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา จึงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี จึงพบในท้องถิ่นและภาคต่าง ๆ ที่ไม่ได้มุ่งหวังทำเพื่อการค้า

2. มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากและเป็นที่ต้องการของตลาด ลักษณะเป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียว ก้านใบสั้น ในหนากว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ ขนาดผลมีส่วนหัวและท้ายของผลเกือบเท่ากัน เปลือกหนาสีเขียวเข้มผิวขรุขระเล็กน้อย ขนาดผลประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัม ผลสุกมีรสหวาน เมล็ดน้อยช่องว่างภายในผลแคบ เนื้อแข็งสีแดง ขนาดเหมาะที่ทำส้มตำจะเก็บในขณะที่มีน้ำหนัก 500-750 กรัม

3. มะละกอพันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์ที่นำมาปลูกนานแล้ว ต้นเล็ก ๆ จะมีจุดประสีม่วง ก้านใบมีสีม่วง ลักษณะผล ส่วนปลายผลเล็กเรียว ส่วนหัวผลซึ่งใกล้ขั้วมีลักษณะเป็นทรงกระบอกใหญ่ ผิวสีเขียว ผลค่อนข้างเรียบ ช่องว่างระหว่างผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน ช่องว่างภายในผลกว้าง สุกแล้วเนื้อสีแดงหรือส้มเหมาะสำหรับบริโภคสุก

4. มะละกอสายพันธุ์น้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่าแขกดำ ใบกว้างกว่าแขกดำแต่ใบบางกว่า จำนวนแฉกของใบมีน้อยกว่าแขกดำและโกโก้ ผลค่อนข้างโต ผลด้านขั้วจะเล็กแล้วขยายโตขึ้นบริเวณใกล้ปลายผล เปลือกผลสีเขียว เนื้อเมื่อสุกมีสีส้มปนเหลือง หรือสีส้ม เนื้อเละรสหวาน

5. มะละกอพันธุปากช่อง1 เป็นพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ผสมพันธุ์นี้ขึ้นจากการนำเอามะละกอสายพันธุ์ซันไรส์ โซโล จากประเทศไต้หวันมาทำการปลูกและผสมพันธุ์ตัวเองอยู่ 5 ชั่วอายุ พันธุ์ปากช่อง1 มีลักษณะที่ดีเด่นคือเป็นมะละกอต้นค่อนข้างเตี้ยมาก ให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน หลังจากปลูกผลในระยะแรกอยู่เหนือจากระดับพื้นดินประมาณ 70-80 เซนติเมตร ติดผลค่อนข้างดกคือ ให้ผลผลิตประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ผลลักษณะกลมขนาดเล็กสามารถรับประทานคนเดียวหมดผล หรือถ้าผลขนาดกลางก็อาจรับประทานได้ 2 คน มีน้ำหนักประมาณ 350 กรัมต่อผล ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ

เนื้อแข็งกรอบสีส้มหนาประมาณ 1.8 เซนติเมตร รสชาติหอมหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลอยู่ค่อนข้างสูง ผลสุกจนมีผิวสีเหลืองทั้งผล สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้นาน โดยที่มีรสหวานเหมือนเดิมและเนื้อก็ไม่เละด้วย นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังสามารถที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้เอง ทั้งยังสามารถเพิ่มขนาดของผลให้ใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักถึง 600 กรัมต่อผล ถ้าหากตลาดต้องการโดยการเด็ดช่อดอกด้านข้างออกเหลือดอกกลางไว้ก็จะได้มะละกอ ผลใหญ่ตามต้องการและ คุณสมบัติที่เด่นกว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างมีความต้นทานต่อโรคใบด่าง ซึ่งถือเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะละกอ


การแสดงออกของเพศมะละกอ :

ต้น มะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศโดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอออกดอก แล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้

***เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนเพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม

1.มะละกอ ต้นตัวผู้ มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด

ถ้า อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง

2. มะละกอต้นตัวเมีย จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลาง 5-20 เซนติเมตร ดูจากภายนอกดอกยังตูมอยู่จะมีลักษณะดอกป้อม กลีบดอกทั้ง 5 กลีบ จะแยกจากกัน ภายในมีรังไข่ อ้วนสั้น สีขาว มีส่วนปลายรังไข่เป็นแฉก 5 แฉก สีเหลืองอมเขียว แต่ละแฉกก็มีปลายเป็นฝอย ผลจากดอกตัวเมียจะมีรูปร่างกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ หรือรูปไข่

3. มะละกอต้นสมบูรณ์เพศ(ต้นกะเทย) ช่อดอกแตกแขนงสั้น อาจจะประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในช่อดอกเดียวกันก็ได้ แต่ดอกสมบูรณ์เพศก่อนบานจะมีลักษณะเรียวยาว กลีบดอกส่วนที่เป็นหลอดจะหุ้มส่วนของรังไข่ ส่วนกลีบดอกที่แยกกันจะเปิดออกเมื่อดอกบาน ถ้าเด็ดกลีบดอกออกจะเห็นอับเกสรตัวผู้ 10 อัน เรียงรอบใต้ส่วนของยอดเกสรตัวเมีย เมื่อละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจาย ขณะดอกบานก็จะผสมตัวเองได้หรือแมลงพาเกสรตัวผู้ไปผสมกับดอกที่บานดอกอื่น หรือดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ทำให้ติดเป็นผล ผลจากมะละกอต้นสมบูรณ์เพศจะเป็นรูปทรงกระบอกยาว ถ้าดอกสมบูรณ์เพศนั้นมีรังไข่ทรงกระบอกและอับเกสรตัวผู้เกิดบริเวณ โคนกลีบดอก เรียกดอกประเภทนี้ว่าอีลองกาต้า (Elongata)

ดอกสมบูรณ์ เพศที่มีรังไข่เป็นพลูและมีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่ที่โคนรังไข่ เป็นดอกแบบแพนเดรีย (Pentandria) ทำให้ได้ผลเป็นพลูแบบผลทุเรียน ตลาดไม่ต้องการ ควรเด็ดทิ้งขณะผลเล็กๆ

ดอกสมบูรณ์เพศแบบอินเทอร์มี เดียท (Intermediate)คือ ดอกสมบูรณ์เพศที่มีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่บริเวณรังไข่ด้านใดด้านหนึ่ง ตรงกลางของรังไข่เมื่อผสมติดแล้วทำให้ผลมีแผลเป็น เบี้ยวด้านหนึ่ง ตลาดไม่ต้องการถ้าพบผลแบบนี้ขณะอ่อน ๆ อยู่ให้เด็ดทิ้ง

ยีนที่ควบคุมและกำหนดเพศมะละกอมีดังนี้ :

Mm    คือมะละกอเพศเมีย

M1m    คือมะละกอเพศผู้

M2m    คือมะละกอสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย)

M1M1, M2M2, M1M2   เกิดลีทอลยีน(Letthlgene) ไม่มีเมล็ด

----------------------------------------------------------------------

แม่พันธุ์ x พ่อพันธุ์ อัตราส่วนของลูก
เพศเมีย :สมบูรณ์ : เพศผู้

ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นเพศผู้ (M1m)    1   :   -   :   1
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นสมบูรณ์เพศ (M2M)   1   :   1   :   -
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x เพศผู้ (M1m)    1   :   1   :   1
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x สมบูรณ์เพศ (M2m)   1   :   2   :   -

การคัดเลือกมะละกอไปทำพันธุ์เพื่อการค้า :

การ เลือกมะละกอไปทำพันธุ์ในการค้า เราต้องการมะละกอสมบูรณ์เพศมาก จึงต้องทำการผสมตัวเองหรือผสมข้ามต้นสมบูรณ์เพศเพื่อให้ได้ผลยาวมากในที่นี้ จะได้ผลยาว 2 ส่วน ประมาณ 66% ผลกลมต้นตัวเมีย 33% การรักษาสายพันธุ์หรือทำเมล็ดพันธุ์จึงควรเลือกต้นมะละกอสมบูรณ์เพศที่มี ความแข็งแรง ติดผลดกในแปลงของท่านเอง แล้วใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้าขาวบางคุลมดอกสมบูรณ์เพศของต้นสมบูรณ์เพศที่จะ บานในวันรุ่งขึ้นไว้ แขวนป้ายชื่อพันธุ์พร้อมวันที่ การคลุมถุงจะคลุมไว้ประมาณ 7 วัน แล้วถอดเอาถุงออก ถ้าเป็นมะละกอพันธุ์ปากช่อง หนึ่งผลจะได้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 150-350 เมล็ด มะละกอพันธุ์แขกดำจะมีเมล็ด 438-1,044 เมล็ดต่อผล ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องผสมไว้หลาย ๆ ผลเพื่อให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกในพื้นที่

การผสมตัวเองของมะละกอ แม้ว่าทำเพียง 4 ชั่วอายุ ก็จะทำเป็นสายพันธุ์คัดได้ ถ้าปลูกในหมู่เดียวกัน ห่างจากพันธุ์อื่นประมาณ 1 กิโลเมตร ก็เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ เมล็ดที่ได้เมื่อนำไปเพาะจะได้ต้นสมบูรณ์เพศ 2 ส่วน ต้นตัวเมีย 1 ส่วน การเก็บเมล็ดทำพันธุ์ต้องเลือกเก็บเมล็ดจากผลที่มีผิวสีเหลืองหรือส้มที่ผล ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ระวังอย่าให้ผลที่เก็บมาได้รับความกระทบกระเทือน หรือช้ำเสียหาย

มะละกอ กินเท่าไหร่ไม่เคยพอ

มะละกอ กินเท่าไหร่ไม่เคยพอ




มะละกอ กินเท่าไหร่ไม่เคยพอ (marie claire)

          มะละกอสุกๆ เนื้อสีส้มแดงนี่แหละขอบอกว่าเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดของความมีประโยชน์ทีเดียว ใครไม่กินก็บอกได้เลยว่า คุณกำลังพลาดของดีชนิดที่สุขภาพไม่น่าให้อภัยเลย มะละกอสุกกินง่ายกว่ามะละกอดิบตั้งเยอะ สามารถปอกเปลือกแล้วลำเลียงลงกระเพาะได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการปรุงแต่งแต่อย่างใด เป็นอาหารบริสุทธิ์ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างมาให้เรา ฉะนั้นเรามาว่ากันถึงความอร่อยและมีประโยชน์ของมะละกอกันเลยดีกว่า

           นอก จากเนื้อหวานๆ แสนอร่อยแล้ว ทุกส่วนของมะละกอยังสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ผลการวิจัยพบว่าประโยชน์ของมะละกอมีอยู่มากมาย ตั้งแต่ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี บรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นที่มาของโรคริดสีดวงทวาร ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง

          ประโยชน์ของมะละกอยังเผื่อแผ่ไปถึงเด็กทารกที่ดูดนมมารดาอีก เพราะช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้น ป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้  เรื่องความสวยงาม มะละกอยังมีเอนไซม์ที่ช่วยบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ใครอยากมีผิวหน้าเนียนขาวนุ่มชุ่มชื่นก็นำมะละกอสุกครึ่งถ้วยผสมกับน้ำผึ้ง แท้ 1 ช้อน นมสดอีก 1 ช้อน ปั่นเข้าด้วยกันเป็นครีมข้น ทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออก เท่านี้ก็เห็นผลทันตาและทันใจทีเดียว

          เป็นไงละคะ คำโฆษณาพอจะชวนเชื่อให้คุณหันมาชอบมะละกอกันได้บ้างหรือยัง

มะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya)

มะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya)
 
     มะละกอ จัดเป็นไม้ผลที่เกษตรกรนิยมปลูกไม่น้อย ทั้งนี้เพราะเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว ผู้ปลูกสามารถปลูกแซม ในพืชหลักก่อนให้ผลผลิต หรือปลูกเป็นพืชหลักเพื่อจำหน่าย ผลผลิตโดยตรง ในแง่ของผู้บริโภคแล้ว มะละกอเป็นผลไม้ ที่ได้รับความนิยมรับประทานกัน เพราะรับประทานแล้ว ไม่อ้วน แถมยังช่วยระบบขับถ่ายได้ดี
     สายพันธุ์มะละกอในบ้านเรา มีให้เลือกปลูกพอสมควร ที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง เห็นจะได้แก่มะละกอแขกดำ ซึ่งแบ่งเป็นสายๆ ไป เช่น แขกดำท่าพระ แขกดำศรีสะเกษ หากเป็นเกษตรกรต้องยกให้แขกดำของ คุณปรุง ป้อมเกิด ที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับสายพันธุ์ใหม่ มาแรง ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้แก่ มะละกอฮอลแลนด์ หรือชื่ออื่น คือ ปลักไม้ลาย และเรดมาลาดอล์
ลักษณะทั่วไปของมะละฮอลแลนด์
    มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมาก ว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน

ดอกและเพศของมะละกอ
    หลักการผลิตต้นพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์นั้น คล้ายกับการผลิตสายพันธุ์อื่นคือ ต้องการให้ได้ต้นกระเทย เพราะคุณภาพดี มะละกอมี 3 เพศด้วยกัน คือ มะละกอเพศผู้ ได้จากต้นที่มีดอกตัวผู้  ช่อของดอกยาวอย่างชัดเจน พบไม่บ่อยนัก  หากพบส่วนใหญ่เขาตัดทิ้ง  อีกเพศหนึ่งคือมะละกอตัวเมีย  ลักษณะของดอกจะอ้วนป้อม ได้ผลอ้วนสั้น  เนื้อไม่หนา  เพศสุดท้ายคือ   เพศกระเทย ดอกออกยาว   ผลที่ได้จากเพศนี้  ผลจะยาว  เนื้อหนา ผู้ปลูกมะละกอต้องการแบบนี้  รวมทั้งเก็บไว้ทำเมล็ดพันธุ์ต่อไป
    หลังปลูกมะละกอได้ 3 เดือน มะละกอจะออกดอก จะมีทั้งดอกตัวเมียและกระเทย ก่อนดอกบาน ผู้ปลูกจะต้องห่อดอกกระเทยด้วยมุ้งหรือผ้าขาวบางๆ  เพื่อให้มีการผสมเกสรตัวเอง และไม่ผสมข้ามพันธุ์กับต้นอื่นๆ เมื่อผลมะละกอสุกแก่ก็นำเมล็ดไปเพาะให้ได้ต้นใหม่   ซึ่งจะได้ผลกระเทย 70-80 เปอร์เซ็นต์

วิธีการปลูกมะละกอฮอลแลนด์
    สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5x3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15
    ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น
    เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่  วิธีการเก็บเกี่ยวนั้น เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย


    เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2551  เวลา 07.30-18.00 น.ที่ผ่านมา  พวกเราชุมชนเกษตรพอเพียง (ออนไลน์) มีโอกาสได้เดินทางไปท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ณ  จังหวัดปราจีนบุรี  เป็นครั้งที่ 2 พร้อมทั้งได้เ้ข้าชมสวนมะละกอ ของคุณอุดร  ซึ่งปลูกมะละกอหลายสายพันธุ์  หนึ่งในนั้นคือ  พันธุ์ฮอลแลนด์  จึงไ้ด้เก็บภาพสวยๆ มาฝากให้สมาชิกได้ชม  พร้อมทั้งได้นำความรู้ที่เป็นหลักวิชาการมาไว้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ และสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาด้วยครับ  
ภาพท่องเที่ยวเชิงเกษตร  สวนมะละกอฮอลแลนด์  ณ  จังหวัดปราจีนบุรี
สวนมะละฮอลแลนด์ คุณอุดร (จ.ปราจีนบุรี)
สาวเจียงใหม่กับมะละกอฮอลแลนด์
   
มะละกอพันธุ์แขกดำ
มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์
   
ผลสุกมะละกอฮอลแลนด์
เนื้อสุก  สีสวย  น่ารับประทาน
   
ต้นเล็กๆ ก็ให้ลูกแล้วครับ  ผลดกจริงๆ

ปริมาณน้ำตาลในผลไม้
     ไทยเป็นประเทศในเขตมรสุม  จึงอุดมไปด้วยพืชผัก ผลไม้  ผลไม้ไทยส่วนใหญ่มีรสหวาน ดังนั้นคุณค่าที่นอกเหนือจาก วิตามิน  เกลือแร่  และใยอาหารที่มีอยู่ในผลไม้  น้ำตาลเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มรสชาติ  และราคาให้แก่ผลไม้  แต่เป็นสิ่งที่ต้องระวังของผู้เป็นโรคเบาหวานมิให้ได้น้ำตาลมาก  เนื่องจากน้ำตาลกลูโคส   ต้องใช้อินซูลินนำเข้าสู่เซลล์  ผลไม้มิได้มีแต่กลูโคส  หรือ ซูโครส ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นกลูโคสได้ ในเวลาที่รวดเร็ว  แต่ยังมีฟรุ๊กโตสที่มีความหวานและเข้าสู่เซลล์ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน แต่ข้อมูลของชนิด และปริมาณน้ำตาลในผลไม้มีอยู่น้อย  ห้องปฏิบัติการกองโภชนาการจึงทำการศึกษา และ เผยแพร่โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง  ในการเลือกรับประทานผลไม้เพื่อสุขภาพของตนเอง  และผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก มิให้ได้รับน้ำตาลจากผลไม้มากเกินความต้องการ  จนถูกนำไปเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
   ผลไม้ที่นำมาวิเคราะห์ชนิด และปริมาณน้ำตาลตามตารางข้างล่างนี้  มีความสุกพอเหมาะในการรับประทาน  ดังนั้น  ผลไม้ที่สุกมากขึ้นแป้งย่อมถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลมากขึ้นด้วย


ชนิดและปริมาณน้ำตาลในผลไม้









เลขที่
ชื่อผลไม้
ปริมาณส่วนที่รับประทานได้


ปริมาณน้ำตาล , ก.



ปริมาณ
น้ำหนัก, ก.

ทั้งหมด
ฟรุ๊กโตส
กลูโคส
ซูโครส
1
ขนุน
1 ยวง
40

8.58
1.75
1.73
5.10
2
เงาะโรงเรียน
4  ผล
70

12.51
1.75
1.77
8.99
3
ชมพู่เพชร
1  ผล
100

7.95
4.05
3.90

4
แตงโมกินรี
10 ชิ้นคำ
140

11.20
5.46
2.30
3.44
5
ทุเรียน, หมอนทอง
1/2  เม็ด
40

8.52
0.38
0.40
7.74
6
มะขามหวาน
1  ฝัก
13

7.57
4.25
3.32

7
มะปราง
8  ผล
85

10.47
2.16
1.77
6.54
8
มะปรางหวาน
8  ผล
73

12.28
1.65
0.91
9.72
9
มะม่วงเขียวเสวย, สุก
1/4  ผล
60

11.30
1.15
0.62
9.53
10
มะม่วงน้ำดอกไม้
1/4  ผล
80

12.26
3.05
0.39
8.82
11
มะม่วงอกร่อง
1  ผล
100

13.45
5.46
0.49
7.50
12
มะละกอ แขกดำ
6 ชิ้นคำ
72

7.08
3.34
3.74

13
มังคุด
3  ผล
50

8.69
0.71
0.74
7.24
14
ลองกอง
6  ผล
100

16.02
7.40
7.09
1.53
15
ละมุดมาเลย์
1  ผล
60

9.37
3.33
2.99
3.05
16
ลำไย, กะโหลก
8  ผล
60

10.66
2.20
2.53
5.93
17
ลิ้นจี่, พันธุ์ค่อม
4  ผล
40

7.34
3.65
3.69

18
ส้มเขียวหวานบางมด
1  ผล
90

10.21
2.17
1.83
6.20
19
สับปะรด, ภูเก็ต
6 ชิ้นคำ
70

10.18
2.10
2.01
6.07
20
สับปะรด, ศรีราชา
6 ชิ้นคำ
70

8.82
2.47
2.31
4.04
21
องุ่นเขียว
8  ผล
50

6.29
2.94
3.35

        แหล่งที่มา : ดร. พิมพร  วัชรางค์กุล กองโภชนาการ

ข้อมูลอ้างอิง :