ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Carica papaya L. มะละกอ (Carica papaya L.) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่จัดอยู่ในวงศ์ Caricaceae เป็นพืชในเขตร้อนของทวีป อเมริกา ซึ่งต่อมาได้มีการนำไปขยายพันธุ์ทั่วโลก สามารถบริโภคได้ทั้ง ผลดิบและผลสุก มะละกอแพร่เข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา มะละกอ เป็นพืชที่มีหลายเพศ (polygamous) บางต้นเป็นเพศผู้ มีเฉพาะดอกตัวผู้ซึ่งไม่มีเกสรตัวเมีย บางต้นเป็นเพศเมียมีดอกเฉพาะดอกตัวเมียซึ่งไม่มีเกสรตัวผู้ และบางต้นเป็นกระเทย คือมีดอกที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกกันมากคือพันธุ์ที่มีต้นแบบกระเท ย เพราะสามารถผสมตนเอง (self pollination) ภายในดอกหรือภายในต้นเดียวกันได้ สามารถขยายพันธุ์ได้ดีเพราะให้เมล็ดที่มีอัตราการงอกเป็นต้นที่มีดอกกระเท ยและต้นที่มีดอกตัวเมียในสัดส่วน 2 : 1 และต้นที่มีดอกกระเทยให้ผลที่มีรูปร่างยาว มีการให้ผลอย่างสม่ำเสมอ มะละกอเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน สูงราว 5-7 เมตร ใบออกเป็นกลุ่มที่ยอดของลำต้น อาจจะพยแขนงย่อยบ้าง 1-2 กิ่ง ทุกส่วนของพืชมียางสีขาว ใบมะละกอมีสีเขียวใบไม้ มีลักษณะเป็นหยักลึกเข้าหากลางใบ 7-11 หยักด้วยกัน ก้านใบกลวงและค่อนข้างยาว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลและขนาดมีความแตกต่างกันแต่ละชนิดสายพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะกลมป้อม ถึงเรียวยาวเมื่อสุกเนื้อในจะมีสีส้มหรือแดง มีเมล็ดสีดำเป็นจำนวนมาก คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ: เนื้อมะละกอสุก เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ สารอาหารในมะละกอทั้งสุกและดิบประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี มะละกอมียางสีขาวที่ไหลออกจากใบ ก้าน และผล ซึ่งยางนี้มีเอนไซม์ชนิดหนึ่งชื่อ ปาเปน(papainXและไคโมปาเปน(chymopapain) มีคุณสมบัติช่วยย่อยโปรตีนในเนื้อสัตว์ จึงนำมาใช้หมักเนื้อให้เปื่อยนุ่ม หรือใสน้ำต้มเนื้อทำให้เนื้อเปื่อยเร็ว นอกจากนี้ยังใช้ในการดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้อีกด้วย ราก ต้มกินแก้ธาตุพิการ ใบสด ย่างไฟใช้ประคบบริเวณที่ปวดบวม เมล็ด ใช้ขับพยาธิและดับกระหายได้ |
|