Tuesday, April 16, 2013

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น)


มะละกอ เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
มะละกอ
มะละกอขณะออกผล

ลักษณะทั่วไป

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก
สารอาหาร ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน 0.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
แคลเซียม 24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม 4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน 0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม
สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

อ้างอิง

  • ข้อมูลจาก http://www.philippineherbalmedicine.org/papaya.htm
  • ข้อมูลจาก http://yathai.blogspot.com/2010/09/blog-post_10.html

Tuesday, November 20, 2012

ประโยชน์ของผลไม้

“ผลไม้” ถือเป็นอาหารที่วิเศษอย่างหนึ่ง และเราควรจะกินผัก-ผลไม้ รวมกันในปริมาณวันละครึ่งกิโลกรัม ด้วยเหตุผลที่ว่า “ผัก-ผลไม้” เป็นแหล่งพลังงานที่ช่วย ทำให้สุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บนั่นเอง
            ผลไม้เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายอย่าง ได้แก่ แป้งและน้ำตาลที่ให้พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ที่ช่วยในกระบวนการปฏิกิริยา เคมีของร่างกาย (Metabolism) ใยอาหารช่วย การขับถ่าย ช่วยลดคอเลสเตอรอล และมีสารป้องกันมะเร็ง

f
มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุกขนาดกลาง ความสูงระหว่าง 5-20 ฟุต ลำต้นอวบน้ำ มะละกอเป็นพืชปลูกง่ายโตเร็ว ให้ผลเร็ว ใฟ้ผลตลอดปี โดยทั่วไปมะละกอเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน และปลูกได้ดี่ในดินทั่วไป แต่ต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขังแฉะ และมีอินทรีย์วัตถุมากพอสมควร
 ประโยชน์ต่อสุขภาพ
     เป็นไม้ผลที่คนทั่วไปนิยมรับประทาน ผลดิบนำมาปรุงอาหาร และผลสุกรับประทานสด น้ำมีรสหวานหอม มีวิตามินเอ และแคลเซี่ยมสูง มะละกอผลดิบมียาง มีสารเพคติน แคลเซี่ยม วิตามินซี และอื่นๆ ผลสุก มีวิตามินเอสูง วิตามินซี สารเพคติน เหล็ก แคลเซี่ยม และมีสาร Cerotenoid เป็นสารที่ทำให้เนื้อมะละกอสุกมีสีส้ม ต้นมะละกอ ใช้เป็นยาขับประจำเดือน ลดไข้ ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลา หูด ฆ่าพยาธิ

271638a9f14cae6693620826360e10fc_1
มังคุดเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ชอบอากาศชื้น ที่สำคัญควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง มังคุดเป็นผลไม้ที่มีระบบรากหาอาหาร ค่อนข้างลึกประมาณ 90-120 ซม. จากผิวดิน ดังนั้น จึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกค่อนข้างนาน โดยต้นมังคุดที่ สมบรูณ์ ใบยอดมีอายุระหว่าง 9-12 สัปดาห์ เมื่อผ่านช่วงแล้งติดต่อกัน 21-30 วัน และมีการกระตุ้นน้ำถูกวิธี มังคุดจะออกดอก
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
     สารสกัดมังคุด มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุอาการท้องเสีย สารที่พบมากที่เปลือกคือ tannin มีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงช่วยแก้อาการท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดหนอง และยังรักษาแผลได้อีกด้วย
การใช้มังคุครักษาอาการท้องเสีย คือ
1. ใช้เปลือกผลตากแห้ง ต้มกับน้ำปูนใส นำน้ำมาดื่ม
2. ใช้ผลตากแห้งฝนกับน้ำดื่ม
3. ใช้เปลือกตากแห้งมาฝนกับน้ำดื่ม ให้เด็กดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชม. และผู้ใหญ่ ครั้งละ 4 ช้อนชา ทุก 4 ชม.


14176578

สับประรดเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันถี่มาก รอบต้นกว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีตารอบผล มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
     รักษาแผลเป็นหนองได้ โดยนำผลสดๆมาคั้นเอาแต่น้ำ ชโลมแผล เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อ และหนองให้หลุด ยังใช้แก้ท้องผูกได้อีกด้วย โดยนำผลสดมาคั้นเอาน้ำ 1 แก้ว อาจผสมกับน้ำสุก 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มตอนท้องว่าง หรืออาจจะใช้เหง้าสดๆ ประมาณ 200 กรัม หรือแห้ง 100 กรัม ต้มน้ำ 2 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้สับประรดยังสามารถแก้ปัสสาวะไม่ออก และช่วยย่อยอาหารได้ดีอีกด้วย

เพศของต้นมะละกอ

เพศของต้นมะละกอ

มะละกอ (Carica papaya L.) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่จัดอยู่ในวงศ์ Caricaceae เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ซึ่งต่อมาได้มีการนำไปขยายพันธุ์ทั่วโลก สามารถบริโภคได้ทั้ง ผลดิบและผลสุก มะละกอแพร่เข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
มะละกอ เป็นพืชที่มีหลายเพศ (polygamous) บางต้นเป็นเพศผู้ มีเฉพาะดอกตัวผู้ซึ่งไม่มีเกสรตัวเมีย บางต้นเป็นเพศเมียมีดอกเฉพาะดอกตัวเมียซึ่งไม่มีเกสรตัวผู้ และบางต้นเป็นกระเทย คือมีดอกที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกกันมากคือพันธุ์ที่มีต้นแบบกระเทย เพราะสามารถผสมตนเอง (self pollination) ภายในดอกหรือภายในต้นเดียวกันได้ สามารถขยายพันธุ์ได้ดีเพราะให้เมล็ดที่มีอัตราการงอกเป็นต้นที่มีดอกกระเทยและต้นที่มีดอกตัวเมียในสัดส่วน 2 : 1 และต้นที่มีดอกกระเทยให้ผลที่มีรูปร่างยาว มีการให้ผลอย่างสม่ำเสมอ
พันธุศาสตร์ของมะละกอ

เพศของมะละกอควบคุมด้วยยีน 3 ชนิด คือ Mh, Mm และ m ยีน Mh และ Mmเป็นยีนเด่น ส่วนยีน m เป็นยีนด้อย ลักษณะพันธุกรรมที่แสดงออกมา เราเรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype) ส่วนลักษณะของยีนที่ควบคุม เราเรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) ต้นมะละกอทั้ง 3 แบบ มีฟีโนไทป์และจีโนไทป์ ดังนี้

ฟีโนไทป์ จีโนไทป์
ต้นตัวผู้
Mm/m
ต้นตัวเมีย
m/m
ต้นกระเทย
Mh/m


สำหรับจีโนไทป์ที่เป็นฮอมอไซกัสยีน คือ Mm/Mm , Mh/Mh และ เฮเทอโรไซกัสยีนซึ่งเป็นยีนเด่นทั้ง คู่ คือ Mm/Mhไซโกตจะตายไปจึงไม่มีต้นอ่อนที่มีชีวิ ตเหลืออยู่


ต้นมะละกอตัวผู้จะไม่ให้ผลเพราะไม่มีรังไข่ซึ่งเป็นส่วนของเกสรตัวเมีย สำหรับพันธุกรรมที่ควบคุมเพศของมะละกอมีผลต่อรูปร่างของผลมาก กล่าวคือต้นตัวเมียจะให้ผลที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมสั้นส่วนต้นกระเทยให้ผลที่มีรูปร่าง กลมยาวซึ่งเป็นที่นิยม พันธุ์มะละกอที่รู้จักกันดี ได้แก่ พันธุ์สายน้ำผึ้ง พันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ
การแสดงออกเกี่ยวกับเพศ (sex expression) นอกจากยีนจะเป็นตัวควบคุมเพศของมะละกอแล้ว สิ่งแวดล้อมมักมีผลต่อการแสดงออกเกี่ยวกับเพศด้วย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจน เป็นต้น ถ้าอุณหภูมิในช่วงเวลากลางวันและช่วงกลางคืนมีความ แตกต่างกันมาก อาจทำให้เกิดดอกตัวเมียในต้นกระเทย และถ้ามีความชื้นสูง อากาศเย็น และมีปุ๋ยไนโตรเจนมากในช่วงที่ตาดอกกำลังเจริญ อาจทำให้เกิดดอกกระเทยที่มีก้านชูอับละอองเรณูเชื่อม ติดกับผนังรังไข่ จึงมักให้ผลที่ไม่ยาวและมักบิดเบี้ยวโค้งงอ
สำหรับดอกกระเทยซึ่งมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย นักวิชาการได้พบว่าลักษณะของดอกมีหลากหลาย เช่น บางลักษณะยอดเกสรตัวเมียอยู่สูงกว่าอับละอองเรณูของเกสรตัวผู้ ลักษณะเช่นนี้ในธรรมชาติจะทำให้เกิดการผสมข้ามต้น (cross pollination) และบางลักษณะ อับละอองเรณูอยู่สูงกว่ายอดเกสรตัวเมียซึ่งจะเอื้อต่อการผสมตัวเอง ส่วนต้นตัวเมียจะต้องผสมข้ามกับต้นอื่น โดยอาศัยกระแสลมหรือแมลงพวกผึ้งหรือผีเสื้อช่วยในการผสมเกสร จึงจะมีเมล็ดสำหรับใช้ปลูกต่อไป
การปรับตัวและการสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพ แวดล้อม จึงจะมีชีวิตอยู่รอด สืบพันธุ์ให้ก ำเนิดลูกหลานดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของตนไว้ได้ และการปรับตัวนี้เป็นไปถึงระดับของยีน จากการศึกษาพันธุกรรมของมะละกอ เราได้ทราบแล้วว่าจีโนไทป์บางอย่างไม่อาจดำรง ชีพอยู่ได้ คือ Mh/Mh , Mm/Mm และ Mm/Mhแต่ต้นมะละกอที่มีจีโนไทป์บางแบบสามารถดำรงอยู่ได้ กล่าวคือ Mh/m , Mm/m และ m/m
การใช้พันธุวิศวกรรมในการปรับปรุงพันธุ์มะละกอ การปรับปรุงพันธุ์มะละกออาจทำได้โดยการผสมข้ามพันธุ์ เพื่อให้มีรสชาติ สีของเนื้อ ความแข็งของเนื้อและรูปร่างตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่มะละกอ ก็เป็นพืชที่มีโรครบกวนมาก เช่น โรคจุดวงแหวนซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสในปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพหรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มาใช้โดยการ ตัดและต่อยีนเพื่อสร้างพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคดังกล่าวซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับมหาวิทยาลัยคอร์เนล การค้นพบดังกล่าว ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา จะต้องมีการจดสิทธิบัตรยีน (gene patent) และและมีสัญญาในการแบ่งผลประโยชน์

ภาพมะละกอแขกนวล...กำลังรอจากคุณปิ่นครับ

พันธุ์มะละกอที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า

ถึง แม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา

ภาพมะละกอแขกนวล...กำลังรอจากคุณปิ่นครับ



1.พันธุ์แขกนวล  นิยมปลูกเพื่อขายผลดิบลักษณะผลยาวผิวผลเรียบสีเขียวอ่อน นวล เนื้อแน่นกรอบเหมาะสำหรับทำส้มตำ ผลสุกเนื้อสีส้มแดง


2.พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ขายได้ทั้งผลดิบและผลสุก ผลสุกมีรสหวานมีเม็ดน้อยเนื้อสีส้มแดง ผลดิบเนื้อแน่นกรอบใช้ทำส้มตำได้ดี

3.พันธุ์แขกดำท่าพระ มีลักษณะดีคือมีความต้านทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ในระดับหนึ่ง ต้นเตีย น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม/ผล เนื้อหนา ผลสุกเนื้อสีเหลืองอมส้ม


4.พันธุ์ฮอลแลนด์ เหมาะสำหรับขายผลสุก ผลรูปทรงกระบอก น้ำหนักผลประมาณ 8 ขีด ถึง 1.5 กิโลกรัม เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาและแน่น ไม่เละ มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย ความหวานสูง

5.พันธุ์ปากช่อง เหมาะสำหรับขายผลสุก เป็นพันธ์ที่สถานีวิจัยปากช่อง ทำการผสมและปรับปรุงพันธุ์จากมะละกอพันธุ์ซันไรส์โซโล ของประเทศใต้หวัน ขนาดผลประมาณ3-5ขีด เนื้อสีส้ม แข็งกรอบ รสหวานมีเปอร์เซนต์น้ำตาลสูง

6.พันธุ์เรดเลดี้ เป็นพันธุ์ที่ติดผลดก น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม เหมาะสำหรับขายผลสุก เนื้อสีแดง หวานกรอบ กลิ่นหอม

"ครั่ง" มะละกอไทย เพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะ

"ครั่ง" มะละกอไทย เพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะ
มะละกอครั่ง(1)เหมาะสำหรับการตำส้มตำโดยเฉพาะให้ผลผลิตสูงเจริญเติบโตเร็ว
มะละกอครั่ง(2)ผลดิบจะกรอบรสหวานกว่าพันธุ์อื่น,เก็บผลไว้ได้นาน1สัปดาห์

แต่เดิมคนไทยมักจะคุ้นเคยกับมะละกอดิบพันธุ์แขกนวลหรือมะละกอแขกดำ ที่นำมาตำส้มตำซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตของคนไทย
แต่มะละกอไทยที่มีชื่อว่า พันธุ์ “ครั่ง” เป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคาม (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำส้มตำโดยเฉพาะ
ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน
เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนื้อของมะละกอดิบพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวานกว่ามะละกอดิบสายพันธุ์อื่น
เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยวและคุณภาพไม่ เปลี่ยนแปลงนานถึง 1 สัปดาห์ ทำให้พ่อค้าที่มารับซื้อจะชะลอการจำหน่ายได้

--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอพันธุ์ครั่ง:


จากการคัดเลือกพันธุ์ยังพบว่าเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง ยังมี 3 เพศ ต้นกะเทย ต้นตวเมีย และต้นตัวผู้
ดังนั้น เกษตรกรที่ได้เมล็ดไปปลูกจะต้องมีการคัดเลือกต้นในแปลงอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งจะมีลักษณะเหมือนมีมะละกอ 2สายพันธุ์อยู่ภายในต้นเดียวกัน
คือระยะต้นเล็กจะมีสีแดงอมม่วง บริเวณก้านใบและมีจุดตามลำต้นคล้ายกับมะละกอพันธุ์โกโก้ เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่สีเหล่านั้นจะหายไป
ในขณะที่พันธุ์โกโก้และจุดยังคงเดิม และเมื่อผลสุกเนื้อมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีสีเหลืองอมส้มคล้ายกับมะละกอพันธุ์สายน้ำผึ่ง
มะละกอพันธุ์ครั่งที่คัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นมะละกอต้นเตี้ย มีลักษณะผลใหญ่และยาว(ต้นกะเทย)บริเวณผลจะมีร่องข้างผลยาวตลอดตั้งแต่หัวไป ยังท้ายผล
เมื่อผ่าดูลักษณะภายในจะมีความหนาของเนื้อประมาณ 2 เซนติเมตร สีของเนื้อมีสีขาวขุ่นและไม่แข็งกระด้าง รสชาติหวานกว่าพันธุ์แขกนวล
จากการศึกษาในแปลงปลูกของทางราชการหรือในแปลงปลูกของเกษตรกรหรือแม้แต่ในแปลงปลูกของแผนกฟาร์มชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร
จังหวัดพิจิตรพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งมีความต้านทานต่อโรค ไวรัส จุดวงแหวนได้ดีระดับหนึ่ง


การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์:


เกษตรกรจะต้องเริ่มต้นด้วยการเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่งอย่างถูกวิธีเสียก่อน


การเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง


ด้วยการใช้วัสดุเพาะที่มีสัดส่วนของหน้าดิน 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และขุยมะพร้าว 1 ส่วน
ให้แช่เมล็ดมะละกอไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่ในน้ำอุ่น(ใช้มือจุ่มลงไปในน้ำรู้สึกว่าไม่ร้อน) นานประมาณ 1 ชั่วโมง
เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด


การเตรียมแปลงและระยะปลูกมะละกพันธุ์ครั่ง


แปลงที่จะใช้ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควนจะยกแปลงลูกแบบลูกฟูกหรือร่องลอยให้มีความกว้างของแปลง 6 เมตร
ใน 1 แปลงปลูก จะปลูก 2 แถวคู่ ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร
พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะปลูกมะละกอครั่งได้ ประมาณ 192 ต้น มีเกษตรกรบางรายจะยกแปลงเป็นลูกฟูกและจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงแถวเดียว
โดยใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร หรือต้องการให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีอาจจะปรับระยะปลูกเป็น 3.5 x 3.5 เมตรก็ได้
แต่ละหลุมปลูกควรปลูก 2-3 ต้น เพื่อคัดต้นตัวผู้ทิ้ง(ซึ่งพบน้อยมาก) แต่ถ้าจะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรคัดต้นตัวเมียทิ้งด้วย
แต่สำหรับเกษตรที่ปลูกเพื่อผลิตเป็นมะละกอดิบขายไม่จำเป็นต้องตัดต้นตัวเมียทิ้ง
เนื่องจากทรงผลจะออกยาวไม่กลมเหมือนกับมะละกอพันธุ์แขกนวลหรือพันธุ์แขกดำ


สภาพดินและการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง


ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรไม่ควรขุดหลุมปลูกให้มีความลึกเกิน 30 เซนติเมตร แต่ควรจะขุดหลุมให้กว้างๆ
เพราะเมื่อมีการให้น้ำดินจะยุบตัวทำให้หลุมปลูกระบายน้ำไม่ได้ ผลที่ตามมาจะทำให้โคนโคนและรากมะละกอเน่าได้
เกษตรกรที่ไม่ต้องการให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงควรจะโน้มต้นลงเพื่อป้องกันการหักล้มในช่วงที่มีการติดผลดก
ในสภาพพื้นที่ปลูกที่อยู่ในพื้นที่สูงและมีสภาพลมแรงไม่มีไม้บังลม เกษตรกรจำเป็นจะต้องโน้มต้นลงเมื่อต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือน
เกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควรจะคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษหญ้า

หลังจากต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือนเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือ 19-19-19 ใส่ให้ต้นละ 50-100 กรัม
ปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากขึ้น เกษตรกรอาจจะสลับมาใส่ปุ๋ยคอกสลับบ้าง เช่นปุ๋ยขี้ไก่
โดยใส่ปุ๋ยเคมีเหลือเพียงเดือนละ 1 ครั้งก็พอ และใส่ให้ต้นละประมาณ 1 กำมือ

อย่างไรก็ตาม น้ำจัดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง ตั้งแต่เริ่มหลุมปลูกจนเก็บเกี่ยวผลดิบขาย
อย่าปล่อยให้ต้นมะละกอขาดน้ำ จะมีการติดตั้งระบบการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ต้นละ 1 หัว
ก็ได้หรืออาจจะให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้3-5วันต่อครั้งก็ได้
หลังจากที่ลงหลุมปลูกแล้วถ้าเป็นไปได้ใต้ต้นมะละกอทุกต้นควรจะคลุมด้วยฟางข้าวเพื่อลดปริมาณวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นในดิน
ในทางปฏิบัติการใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกมะละกอยังมีข้อจำกัดและเกษตรกรจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
แม้แต่สารในกลุ่มไกลโฟเสก็ตามอาจจะมีผลข้างเคียงกับต้นมะละกอพันธุ์ครั่งได้


ความแตกต่างระหว่างการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง หลุมละ 1 ต้น และ 2 ต้น


ในการคัดเลือกต้นมะละกอพันธุ์เมื่อเริ่มมีการออกดอกและติดผลให้คัดต้นตัวผู้ทิ้งเท่านั้น ซึ่งมีน้อยมาก
ต้นตัวเมียถึงแม้จะให้ลูกกลมแต่ก็กลมไม่มาก และมีความยาวของผลพอสมควรขายเป็นมะละกอดิบเพื่อทำส้มตำได้
การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงหลุมละ 1 ต้น จะได้ต้นมะละกอที่มีลำต้นที่อวบอ้วน ขนาดของผลจะใหญ่และสมบูรณ์มาก
ในขณะที่ปลูกหลุมละ 2 ต้น ถึงแม้ต้นจะยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ขนาดของลำต้นเล็กกว่าเนื่องจากแย่งอาหารกันมีผลทำให้มะละกอมีขนาดเล็ก เรียวยาว
และน้ำหนักผลน้อยกว่า แต่เป็นข้อดีตรงที่ผลมะละกอดิบไม่ใหญ่จนเกินไป


เทคนิคการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง


มะละกอพันธุ์ครั่ง จะให้ผลผลิตและเก็บจำหน่ายผลดิบหลังจากที่ย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง 5-6 เดือน
จากการสังเกตลักษณะของการออกดอกและติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้คือ ในช่วงเดือนที่ 9 หลังการปลูกลงดิน
ผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะเหมาะที่จะตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งแล้วเลี้ยงยอดใหม่
หรือเรียกว่าวิธีการทำสาวหลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3 เดือนเท่านั้น ข้อดีใหม่ของมะละกอพันธ์ครั่งจะเริ่มออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในเวลา ต่อมา
ข้อดีของการทำสวนมะละกอพันธุ์ครั่งจะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตง่าย เพราะมะละกอมีต้นเตี้ยเหมือนกับต้นที่ปลูกใหม่
และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ง่ายขึ้น การทำสาวมะละกอจะยังคงรักษาพันธุ์เดิมไม่มีการกลายพันธุ์ถ้าปลูกในครัวเรือนไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์ สามารถกำหนดการให้ผลผลิตได้โดยวิธีการทำสาว
สามารถกำหนดให้มะละกอมีจำหน่ายได้ในช่วงหน้าแล้ง ในช่วงฤดูแล้งราคามะละกอดิบจะมีราคาแพงที่สุดคือตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้น มาจนถึงเทศกาลสงกรานต์
ในช่วงเวลาดังกล่าวบางปีราคามะละกอดิบขายจากสวนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 8-15 บาท โดยเกษตรกรนับถอยหลังไปราว 4-5เดือน
และตัดต้นมะละกอทำสาวในช่วงเวลานั้น เช่น จะให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งให้ผลผลิตขายได้ในเดือนมกราคม
ให้ตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวในช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม เป็นต้น



วิธีการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง


แนะนำให้เกษตรกรตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร
เหตุผลที่จะต้องตัดที่ความสูงระดับนี้เผื่อเอาไว้ให้ลำต้นมะละกอต้องผุเปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบมือ
หลังจากตัดต้นมะละกอแล้วไม่จำเป็นจะต้องทายาเชื้อราหรือปูนแดง เนื่องจากลำต้นมะละกอจะผุเปื่อยลงไปจนถึงจุดทียอดตาใหม่จะแตกออกมา
เกษตรกรอาจจะสงสัยว่าเมื่อตัดต้นมะละกอแล้วจำเป็นจะต้องเอาถุงพลาสติกมาคลุมต้นมะละกอเพื่อป้องน้ำหรือฝนที่จะทำให้ต้นเน่าได้หรือไม่
ความจริงแล้วถ้าเกษตรกรใช้ถุงพลาสติกมาคลุมรอยแผลจะทำให้ต้นเน่าได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากน้ำที่ระเหยจากลำต้นจะไปเกาะติดที่พลาสติกจนน้ำขังภายในลำต้น ไม่มีการระบายน้ำออก
จะส่งผลให้ลำต้นเน่าแต่ถ้าตัดต้นแล้วปล่อยไว้ตามธรรมชาติไม่ต้องทำอะไร เมื่อมีฝนตกลงมาและมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณรอยแผล
น้ำจะแห้งหรือระเหยไปเองเพราะจะโดนแดด โดนลมแต่เกษตรกรจะต้องเจาะรูเพื่อให้น้ำมีทางระบายอกจากลำต้นด้วย

หลังจากที่ตัดต้นทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่งแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร16-16-16 หรือสูตรที่ไนโตรเจนสูง
เช่น สูตร 32-10-10 พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกเก่าบำรุงต้นไปพร้อมกัน และมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งให้ต้นมะละกอแตกยอดออกมาใหม่
เมื่อมีการแตกยอดออกมาจำนวนมากให้คัดเลือกยอดมะละกอพันธุ์ครั่งที่มีความสมบูรณ์ไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้น
และจะต้องหมั่นเด็ดยอดที่ไม่ต้องการออกให้หมด เพื่อไม่ให้เจริญเติบโตแข่งกัน
หลังจากที่เลี้ยงยอดไปนานประมาณ 3 เดือน จะเริ่มออกดอกและติดผล


ปัจจุบันส้มตำเป็นอาหารหลักของคนอีสานและเป็นอาหารที่ได้เผยแพร่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ
นอกจากนั้นยังแพร่หลายกลายเป็นอาหารที่คนต่างชาติรู้จักกันมากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักมะละกอพันธุ์ครั่ง
วิธีสังเกตง่ายๆ คือ จะมีร่องที่ผลเมื่อซื้อไปทำส้มตำแล้วล้วนแต่ประทับใจในความอร่อยและกรอบกว่ามะละกอสายพันธุ์อื่นๆ
สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์มีตัวอย่างเกษตรกรที่ จ.เพชรบูรณ์ คือ คุณยุพิน บั้งทอง
เริ่มปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในพื้นที่เพียง 2 ไร่ หลังจากปลูกต้นกล้าลงดินไปนานประมาณ 5 เดือนเท่านั้น
เก็บมะละกอดิบขายได้มากถึง 5,000 กิโลกรัม



ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับ 1 ธันวาคม 2551 หน้า 16-18
อ้างอิงที่มา:เว็บเกษตรแผ่นดินทอง


พี่น้องบ้านมหามีผู้ใด๋ปลูกแหน่บ่ค่ะ ขอข้อมูลเพิ่มเติม และลบกวนถ่ายภาพสวนมะละกอมาให้เบิ่งแหน่เด้อจ้า
ขอบคุณหลายๆค่ะ

เทคนิคการปลูกมะละกอให้ลูกดก


คลิ๊กที่ภาพ

คุณ พ่อสมพงษ์ จ. ขอนแก่น แนะนำว่าควรมีการเตรียมดินอย่างดี เช่นก่อนที่จะปลูกต้องมีการไถพรวนดินแล้วใส่ปุ๋ยคอก ก่อนที่จะนำต้นกล้ามาปลูกลงดินที่เตรียมไว้ เด็ดรากแก้วออกแล้วนำปูนขาวทา จะทำให้มะละกอได้ผลดก สิ่งที่สำคัญ คือน้ำ อย่าให้ขาด เพราะจะทำให้ต้นมะละกอเฉาได้ วิธีการปลูก
มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม

ความเชื่อของคนอีสาน

ใช้ผ้าถุงห่มให้ต้นมะละกอตัว หรือ ใช้กระดูกสัตว์ตอกเข้ากลางลำต้น ... วิธีหลังมะละกอกลัวตายมากกว่า ก็จะให้ลูกดอก อิอิ


เพิ่มยอดมะละกอ....โดยตัดต้นมะละกอสูงประมาณ50เ็นต์และวบำรุงต้นจะเกิดยอดออกมาข้างๆหลายกิ่ง..ต้นเตี้ยด้วย

การทำให้มะละกอติดลูกดกนั้น อาจจะทำให้ต้นโทรมเร็วหากดูแลไม่ถูกวิธี แต่การทำให้มะละกอติดลูกติดต่อกันหลายปีนี่สิน่าสนใจนะครับ ขอแนะนำเทคนิคการทำสาวให้มะละกอของ คุณสนอง เศษโม้ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.มหาสารคาม บอกว่าหลังจากที่เกษตรกรได้เก็บผลผลิตมะละกอรุ่นแรกไปแล้ว ควรจะทำสาวด้วยการตัดต้นมะละกอแล้วเลี้ยงยอดใหม่ ซึ่งหลังจากตัดต้นไปแล้วเพียง 3 เดือน ยอดใหม่ที่แตกออกมาจะเริ่มออกดอกและติดผลตรงตามสายพันธุ์เดิมและเก็บผล มะละกอดิบได้ในเดือนที่ 4 หลังจากตัดต้น เทคนิคในการทำสาวให้มะละกอให้ตัดต้นมะละกอให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร (เผื่อลำต้นมะละกอจะต้องผุเปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบ) แต่เกษตรกรจะต้องช่วยเจาะรูให้น้ำมีทางระบายออกจากลำต้นด้วย ในการทำสาวเพื่อจะให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดีควรทำในช่วงฤดูฝน หลังจากตัดต้นมะละกอเสร็จแล้ว
หลังจากตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวเสร็จเกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 หรือสูตรตัวหน้าสูง เช่น 32-10-10 และใส่ปุ๋ยคอกเก่าร่วมด้วย มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจะมียอดมะละกอแตกออกมาใหม่หลายยอดให้คัดเลือกยอดที่สมบูรณ์ที่ สุดเหลือไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ยอดเจริญแข่งกัน
ต้นมะละกอที่มีการทำสาวทุกปีจะมีการติดดกเหมือนกับต้นมะละกอปลูกใหม่ซึ่งผิด กับต้นมะละกอที่ไม่เคยทำสาวเลยจะมีการออกดอกและติดผลน้อยลง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอในเชิงพาณิชย์ จะสามารถกำหนดการให้ผลผลิตด้วยวิธีการทำสาวกำหนดให้ต้นมะละกอมีผลผลิตขายได้ ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยมาจนถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งราคามะละกอดิบเพื่อใช้ ส้มตำในช่วงเวลาดังกล่าวจะเฉลี่ยสูง


 ต้นไม้ก็เหมือนคนเรานั้นแหละค่ะ ถ้าต้องการให้พืชโตเร็วให้ผลผลิตมากๆเราก็ต้องมีวิธีบำรุงมันด้วย หรืออาจจะให้อาหารเสริมสำหรับพืชด้วย อย่างนี้เราต้องการให้มะละกอนั้นผลดกถ้าเร่งมะละกอมากเกินไปอาจจะทำให้มัน โทรมจนแก่ตายได้นะค่ะ ดังนั้นเราก็ต้องให้อาหารจานด่วนกับมะละกอด้วยแหละ หนูได้สูตรนี้มาจากอาจารย์ที่เชียวชาญด้านการปลูกพืชมาจาก
อาหารจานด่วน
วิธิทำ
1. ไข่ไก่ 1 ฟอง กระเทาะเปลือก ตีให้เข้ากัน
2. น้ำ 20 ลิตร
3. ปุ๋ยยูเรีย 20 cc
4. จูลินทรีย์หน่อกล้วย 4 ช้อนแกง
5. นำส่วนประกอบทั้งหมดมาหมักรวมกัน 7 วัน ก็สามารถใช้การได้

วิธีใช้
1. สามารถใช้ผสมจูลินทรีย์หน่อกล้วย ในปริมาณ 20 cc /จูลินทรีย์หน่อกล้วย 20 cc/ น้ำ 20 ลิตร ก็ได
2. ใช้เฉพาะอาหารจานด่วนก็ได้ 20 cc/ น้ำ 20 ลิตร

แนะนำต่อไปด้วยนะค่ะไม่เปลืองมากค่ะ


มีเทคนิคและวิธีการทำให้มะละกอลูกดกดังนี้

โดยเริ่มจากการเตรียมดินให้มีความอุดมสมบรูณ์ก่อน และก่อนย้ายกล้าที่เพาะไว้ลงปลูกในแปลง คุณพ่อจะใช้ภูมิปัญญาเก่าๆ ที่สืบทอดกันมาทำให้มะละกอเป็นต้นกระเทยเสียก่อน โดยการตัดรากแก้วออกให้เหลือประมาณ 2 ข้อมือ แล้วนำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ วิธีนี้นอกจากจะทำให้มะละกอติดลูกดกแล้ว ยังทำให้มะละกอโตเร็ว เก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น 1 เดือน ทั้งยังติดลูกดกทุกต้นด้วย

ขอแนะนำให้ดูที่ดินเป็นอันดับต้น ๆ นะค่ะ
ดินต้องดีมีประสิทธิภาพก่อนด้วยการเพื่อจุลินทรีย์ในดินด้วยการราด
น้ำหมัดชีวภาพ ค่ะ ประการที่ 2 ให้เพื่อต้วแคลเซียมให้โดยเปลือกกุ้ง
เปลือกปู หอย ที่เรากินแล้ว มาทิ้งไว้โค้นต้นเพื่อเป็นปุ๋ยค่ะ


นครชัยศรี เจอสวนมะละกอนายปรุง ในยุคมะละกอกิโลละห้าสิบ แต่มังคุดแค่สิบ

ไปหาข้าวกินแถวนครชัยศรี เจอสวนมะละกอนายปรุง ในยุคมะละกอกิโลละห้าสิบ แต่มังคุดแค่สิบ


ตอน ที่นั่งเขียนอยู่นี้ ผลโหวตของบล็อกนี้ระหว่างเรื่องกินกับเรื่องเที่ยว ดูท่าว่าคนโหวตว่าชอบเรื่องกินจะชนะขาดคนที่โหวตชอบเรื่องเที่ยว อยู่ที่ 340 ต่อ 35 เกิดความคิดกับตัวเองว่าหรือจะ เลิกเที่ยว เก็บเงินไว้ไปหาอาหารเด็ด ๆ กิน ก็น่าจะดีเหมือนกัน แล้วก็เก็บภาพหาเรื่องมาเล่ายั่วน้ำลายกันเล่น แล้วก็ได้อิ่มอร่อยท้อง

 
เมื่อ ไม่กี่วันมานี้วนรถว่าจะไปหาข้าวกินแถว ๆ ศาลายา จากหน้ามหาวิทยาลัยมหิดลเลี้ยวซ้ายไปตามถนนศาลายา-นครชัยศรี ขับไปเรื่อย ๆ ยังไม่เจอร้านโดนตาโดนใจ จนเลยวัดสุวรรณ ประมาณว่าจากแยกศาลายามาก็ประมาณ 9 กิโลเมตร  ยังอยู่ในเขตตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ก็เจอร้านชื่อ อู่ข้าวอู่ปลา อยู่ทางขวามือ นึกคุ้นตาขึ้นมาจากหน้าหนังสือบ้าง หน้าเว็บบ้าง บรรยากาศร่มเงาแบบบ้านทุ่งชวนสนใจก็เลยลองแวะเข้าไปดู
อาหาร ออกหน้าตาไทย ๆ ที่ลองสั่งมาชิมรสชาติ ก็เช่น ยำตะไคร้ ซึ่งทางร้านออกแบบมาให้กินได้ทั้งแบบยำ และแบบเมี่ยง ไข่ตุ๋นที่เขาเอาน้ำและเนื้อแบบต้มยำกุ้งราดมาบนหน้าไข่  ปลาสลิดที่นี่เขาไม่ได้ขายแบบทอด แต่แกะเนื้อมาทำไข่เจียวปลาสลิด แล้วก็เอามาแกงกะทิใส่ใบมะขาม เป็นต้น ราคาอาหารพอให้จับต้องได้ จานละ สี่สิบ ห้าสิบ หกสิบ เจ็ดสิบ แปดสิบบาท หม้อไฟก็ร้อยนึง ถ้าเป็นปลาตัวราคาก็สูงขึ้นไปแต่ก็ยังไม่ถึงสองร้อยอยู่ดี
ร้าน ไม่มีห้องปรับอากาศ แต่อากาศกลางวันก็ไม่ทำให้ร้อนเพราะมีลมสวนช่วยกระพือพัด ถ้าไม่ชอบนั่งบนบ้าน จะย้ายมานั่งข้างล่างที่ออกแบบจัดสวนแบบชาวบ้าน ให้อารมณ์เหมือนอยู่กับบ้านก็ได้ แต่ข้างล่างนี่น่าจะเหมาะกับช่วงแดดร่มลมตกมากกว่า ด้วยว่าร้านเขาเปิดขายตั้งแต่สี่โมงเช้าไปจนถึงสี่ทุ่ม
 
จ่าย เงินค่าอาหารเสร็จ เดินลงจากร้านจะกลับมาที่รถ เหลือบไปเห็นสาวหน้าตาน่ารักขับรถมาซื้อมะละกอที่สวนซึ่งอยู่ภายในบริเวณ รั้วเดียวกันกับร้าน ส่งไมตรีถามไถ่ได้ความว่าบ้านอยู่แถวคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อนฝูงจะยกพลมาเยี่ยมเยียน เลยมาหาซื้อมะละกอเตรียมไว้ต้อนรับ พร้อมทั้งให้เหตุผลว่ามะละกอเจ้านี้แหละที่ส่งขึ้นห้างอย่างสยามพารากอน และเดอะมอลล์ ชื่อว่าสวนนายปรุง
 
พอ ได้ยินชื่อสวนนายปรุง ก็คิดถึงมะละกอแขกดำที่ขายอยู่ที่ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตลาดริมแม่น้ำนครชัยศรีที่มีของกินของขายให้ไปท่องเที่ยวกันนั่นแหละ ติดสติกเกอร์ยี่ห้อนี้ขายอยู่ที่กิโล (กรัม) ละห้าสิบบาท ถามราคาแล้วไม่ซื้อแถมยังแอบนึกในใจว่ามะละกออะไรแพงจัง แขกดำแถวบ้านขายกิโลละยี่สิบแปดบาท ยังต่อ (ราคา) แล้วต่ออีก ต่อไม่ให้ก็หันไปซื้อมังคุดกิโลละสิบบาทไปกินแทน
 
เจอ ตัวนายปรุงเก็บมะละกอมาขายเอง ฟังว่าปลูกเองขายเองอย่างนี้มายี่สิบปีแล้ว กว่าจะได้แขกดำที่เนื้อแดงแน่นหวานชุ่มนุ่มลิ้นอย่างที่เป็นอยู่ เคล็ดดี ๆ ก็คือต้องใช้ขี้ค้างคาวเป็นปุ๋ยช่วย ต้นไม่ปล่อยให้โตสามปีตัดแล้วลงใหม่ เพราะยิ่งสูงลมจะตีลูกมะละกอแกว่งเป็นแผล พอลูกเริ่มโตก็ต้องห่อเพื่อกันนกเจาะแล้วมดซ้ำ เป็นโรคก็อย่าเสียดาย ปลูกมะละกอขายให้ทำใจแต่เริ่มหวังผลแค่ครึ่งเดียว
 
ยัง ไม่ได้ชิม แค่คุยถึงมะละกอก็ชักจะได้รส เมื่อก่อนเวลาพูดถึงชื่อภาษาอังกฤษของมะละกอก็จะนึกได้แต่เพียง Papaya ตอนหลังถึงได้รู้ว่า Pawpaw หรือ Tree Melon ก็หมายถึงมะละกอเหมือนกัน คนเหนือ คนลาว เรียกว่า ก้วยเท็ด (เทศ) มะก้วยเท็ด  กะเหรี่ยงทางเหนือเรียก สะกุยเส่ ถ้าเป็นเงี้ยวเรียก หมากซางพอ คนอีสานเรียก หมากหุ่ง หมักหุ่ง บักหุ่ง บักกอ คนใต้เรียก ลอกอ แถวปัตตานีเรียก มะเต๊ะ ถ้าทางยะลาเรียก ก้วยลา แถวสตูลเรียก แตงต้น ถ้าเป็นคนจีนฟังเสียงมาได้ว่า เจียะกวย หรือ ฮวงบักกวย ผิดถูกก็โทษรูหูที่ฟังมาผิดก็แล้วกัน
 
มะละกอ สุกมีทั้งวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง ซี ซีหนึ่ง ซีสอง แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โซเดียม โปตัสเซียม ไนอาซิน เบตาแคโรทีน แล้วก็พวกกากหรือเส้นใย หยิบเนื้อสุกมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงเครื่องปั่น เติมน้ำตาลทรายแดงหน่อยเกลือป่นนิด ใส่น้ำแข็งแล้วก็ปั่นให้ละเอียด ดื่มเป็นน้ำมะละกอปั่น อร่อยดีแล้วก็ยังช่วยย่อยอาหาร และระบายท้องแก้ท้องผูกได้ด้วย


คุย กับนายปรุงจนเพลิน เผลอเลือกหยิบมะละกอส่งให้เกือบสิบลูก ราคาที่สวนขายเท่าส่งกิโลละสามสิบห้าบาท ถ้าเป็นแผลถูกเจาะทาปูนแดงกันลามไว้ก็ขายกิโลละยี่สิบ ได้จ่ายเงินทั้งกินข้าว ทั้งซื้อมะละกอ แล้วสบายใจ สมกับที่เป็นชนเผ่าบริโภคนิยมจริง ๆ !!!